ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษา ศบค. เปิดเผยถึง สถานการณ์วัคซีนโควิด-19 ว่า ได้ข้อสรุปสำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 บูสเตอร์ หรือการกระตุ้นภูมิคุ้มกันว่ากลุ่มแรกที่จะได้รับคือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งหากวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสที่ได้จากสหรัฐมาไม่ทัน จะนำแอสตร้าเซเนก้ามาฉีดให้ก่อน แต่ถ้าวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสมาเร็วก็จะฉีดให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ก่อนเช่นกัน
ทั้งนี้เนื่องจากว่ากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ตอนนี้ซึ่งได้รับวัคซีนซิโนแวคครบแล้ว 2 เข็ม และมีระยะห่างจากเข็มที่สอง 3-4 เดือนพอดี จึงเหมาะสมที่จะได้รับเข็ม
บูสเตอร์ก่อน เพื่อเป็นด่านหน้าในการรับมือกับสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)
“ตอนนี้ภูมิคุ้มกันมันตกเร็วในทางการแพทย์เท่าที่มีข้อมูล ต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (บูสเตอร์) ตัวอย่าง บ้านเราซิโนแวคฉีด 2 เข็ม ใน 3-4 เดือนต้องการ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (บูสเตอร์) แน่นอน และตอนนี้วัคซีนซิโนแวค กลุ่มที่ได้รับคือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งห่างจากเข็มสอง 3-4 เดือนพอดี กลุ่มนี้จึงต้องได้กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (บูสเตอร์) อาจจะเป็นแอสตร้าเซเนก้า หรือ วัคซีนชนิด mRNA “
ส่วนการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงมากในการรับวัคซีนต่างชนิดกัน ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม อธิบายหลักการสำคัญ คือ สมมุติได้เข็มหนึ่งแล้ว ให้ไปฉีดเข็มสองตามกำหนด เช่น ถ้าฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า เข็ม 1 กับ เข็ม 2 ห่างกัน 3 เดือน แนะนำอย่าเพิ่งไปจองวัคซีน mRNA เพราะถ้าพูดจากหลักวิชาการ เพราะจะได้ mRNA รุ่นเก่า ที่พัฒนามาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม
ดังนั้นถ้าฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ครบ 2 เข็ม เว้นอีก 6 เดือน แนะนำให้ บูสเตอร์โดส (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) จะเป็นแอสตร้าเซเนก้าเดิม หรือ mRNA ก็ได้ถึงช่วงเวลานั้นจะได้วัคซีนรุ่นใหม่ ซึ่งฤทธิ์ข้างเคียงจะน้อยลง ความปลอดภัยมากกว่า ซึ่งตามการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกฟร์อด พบว่าฉีดแอสตร้า 2 เข็ม เว้น 6 เดือน ฉีดบูสเตอร์โดส (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) จะเพิ่มขึ้น 6 เท่า และปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียงมากมาย
ถ้าฉีดวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 สองเข็ม ควรบูสเตอร์โดสใน 3-4 เดือน จะเป็น
แอสตร้าเซเนก้า หรือ ไฟเซอร์ โมเดอร์ ที่ใช้เทคโนโลยี mRna แต่ตรงนี้สำหรับประชาชนทั่วไปต้องรอผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังทำการศึกษาคาดว่าจะรู้ผลในอีก 1 เดือน
ดังนั้นโดยสรุปคือเท่าที่ทีมแพทย์มีข้อมูลการบูสเตอร์โดส (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) จะใช้เฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงที่ไปสัมผัสหรือไปเสี่ยงกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งกลุ่มแรกคือ บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มสองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
“บูสเตอร์โดสมีความสำคัญแน่นอน แต่ท่านทั้งหลายกรุณาอย่าไปลดประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค เพราะถึงอย่างไรก็สามารถลดเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ และจากนี้ต่อไปก็พิจารณาบูสเตอร์ประชาชนทั่วไปในอีก 6 เดือนข้างหน้า”
.