Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่

‘นักโทษทางความคิด’ วาทะดัดจริตและวิธีคิดสั่วๆ

3 พฤศจิกายน 2564

นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ได้ออกจดหมายเปิดผนึก ผ่านเพจพรรคเพื่อไทย ยืนยันเจตนารมณ์ว่า พรรคเพื่อไทย พร้อมนำข้อเสนอแก้กฎหมาย 112 และ 116 เข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภา นับเป็นการย้ำเจตนารมณ์ที่ได้กล่าวเอาไว้ในงาน “พรุ่งนี้เพื่อไทย” ที่ได้เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางความคิด เพื่อฟื้นฟูหลักนิติรัฐและนิติธรรมของประเทศ โดยมีเนื้อหาดังนี้

“…ปัญหาการใช้กฎหมายอาญาดำเนินคดีเพื่อจำกัดความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างอย่างล้นเกิน ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาตรา 116 พระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ หรือความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน สร้างผลกระทบให้ประชาชนเสียหายจากกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนสงสัยว่า ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐนิติธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวโดยมิชอบด้วยหลักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในหลักกฎหมายและหลักความยุติธรรมของประเทศ

…ตามที่ภาคประชาชนได้เรียกร้องและเสนอร่างแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคที่มีเสียงสมาชิกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมรัฐสภา เพื่อตรวจสอบระบบการทำงานของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้ดุลยพินิจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบการสั่งการโดยรัฐบาล รวมถึงการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้นักโทษทางความคิดได้รับการปล่อยตัว และไม่ให้เกิดนักโทษทางความคิดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมของประเทศไทย”
ต่อมา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟซบุ๊ค โต้แย้งในประเด็น “นักโทษทางความคิด” ซึ่งเป็นวาทกรรม/สำนวนประดิดประดอยของนายชัยเกษมว่า

“…ระบอบประชาธิปไตยมิใช่มีเพียงแค่การมีสิทธิเสรีภาพเท่านั้น แต่ระบอบประชาธิปไตยต้องมีขอบเขตและมีกฎกติกาของการใช้สิทธิเสรีภาพด้วย โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในการคิดและการพูด มิฉะนั้น ก็จะทำให้เกิดข้อพิพาทวุ่นวายกันทั้งประเทศจนหาข้อยุติไม่ได้ นำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
…การเคารพกฎกติกาจึงเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย นั่นคือการเคารพกฎหมาย กฎหมายจึงเป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นกฎกติกาของการใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ใน “กรอบของความพอดี” ไม่ใช่ใช้สิทธิเสรีภาพเกินเลยจนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้บ้านเมืองเสียหาย

               …เรามีสิทธิเสรีภาพที่จะไม่เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และลำพังแต่ “ความคิด” ไม่เห็นด้วยนี้ ไม่อาจทำให้เรามีความผิดและตกเป็นนักโทษตามกฎหมายได้ แต่ถ้าเราลงมือกระทำในสิ่งที่กฎหมายกำหนดเป็นความผิดเมื่อใดแล้ว นั่นคือการทำลายกติกาทำลายประชาธิปไตย ที่ทำให้เราต้องตกเป็นนักโทษและต้องรับโทษตามกฎหมาย นี่เป็นกฎกติกาของระบอบประชาธิปไตยในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งหลักความรับผิดทางอาญาต้องมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ คือ  1) คิดว่าจะกระทำการที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  2) ตกลงใจว่าจะกระทำตามที่คิดนั้น และ 3) ลงมือกระทำการนั้น
เพราะฉะนั้น เพียงแค่คิดแต่ไม่มีการลงมือกระทำ ก็ไม่มีความผิดอาญาและไม่มีโทษตามกฎหมาย
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มี “นักโทษทางความคิด” ในคุกไหนทั้งนั้น

                “นักโทษทางความคิด” ที่อยู่ในคุกจึงไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการอุปโลกน์ดัดจริตเล่นสำนวนขององค์กรต่างชาติและนักการเมืองสั่วๆ ที่คิดเป็นแค่สร้างกระแสโหนกระแสเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตนเองโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีและความเสียหายของชาติบ้านเมือง

                 กฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 เป็นกฎหมายที่เป็นกฎกติกาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ซึ่งแต่ละประเทศทั่วโลกก็ล้วนมีกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันก็แต่ในรายละเอียดและวัฒนธรรมประเพณี เช่น สเปน สวีเดน  เดนมาร์ก บรูไน มาเลเซีย ภูฏาน หรือแม้แต่อังกฤษ และอีกหลายๆ ประเทศที่มีระบบกษัตริย์ ก็ล้วนแต่มีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับมาตรา 112 ของไทยทั้งนั้น

                  สำหรับประเทศที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ใช้ระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในแถบยุโรป ก็มีกฎหมายที่เอาผิดจำคุกคนที่ดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายประธานาธิบดีของเขาเช่นกัน และในบางคดีก็มีโทษมากกว่าโทษตามมาตรา 112 ของเราเสียด้วยซ้ำ แต่ทำไมไม่เห็นมีการเรียกร้องกล่าวหาของประชาชนในสหรัฐอเมริกาและในหลายๆ ประเทศเหล่านั้นว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการจำกัดความคิดเห็นทางการเมือง ไม่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักความยุติธรรมของประเทศ ต้องยกเลิกให้หมด
องค์กรต่างชาติที่เข้ามาวุ่นวายในบ้านเราก็ไม่เคยเช้าไปยุ่งวุ่นวายเรื่องนี้ในประเทศเหล่านั้น แล้วทำไมถึงต้องเข้ามาวุ่นวายแต่กับประเทศไทย ประเทศที่มีวันนี้ได้เพราะบรรพกษัตริย์และบรรพบุรุษนักรบของเราแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต
สำหรับมาตรา 116 ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐโดยตรง ความผิดตามมาตรา 116 มี 3 ประการ คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อ

1) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย

     2) ทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และ

3) ทำให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

หากใครกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นจนบ้านเมืองย่อยยับแต่คนทำไม่มีความผิด บ้านเมืองจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร คงไม่มีประชาชนที่เป็นพลเมืองดีและเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศคนไหนอยากให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟ เพราะฉะนั้น อย่าอ้างสั่วๆ ว่าประชาชนเรียกร้อง เพราะมาตรา 112 และมาตรา 116 ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการเมืองหรือความคิดทางการเมืองเลย
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ประชาชนคนทั่วไปก็เข้าใจได้ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นคนที่อยู่ในวงการกฎหมายหรือรับราชการจนได้ดิบได้ดีได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอัยการสูงสุดหรือตำแหน่งสูงสุดทางราชการใดๆ จึงจะเข้าใจได้ แต่แปลกที่บางคนตั้งแต่เรียนกฎหมายจนสอบได้เนติบัณฑิต ก็เข้าใจและไม่เคยเห็นแย้งกับหลักกฎหมายนี้ พอมารับราชการจนได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่เป็นโตก็ยึดปฏิบัติตามหลักกฎหมายนี้ ไม่เคยพูดไม่เคยแสดงความคิดเห็นสักแอะว่า หลักกฎหมายนี้มันจำกัดความคิดเห็นทางการเมือง สร้างผลกระทบให้ประชาชน ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศเสียหาย ไม่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักความยุติธรรมของประเทศ ต้องยกเลิกให้หมด
ก็ถ้าคิดสั่วๆ แบบนี้จริงๆ แล้วทำไมก่อนหน้านี้ตอนเรียนกฎหมาย ตอนอยู่ในตำแหน่งราชการ จึงไม่แสดงความเห็นออกมา ไม่เสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 มาตรา 116 เสียตั้งแต่ตอนนั้นล่ะ ทำไมต้องรอมาจนอายุปูนนี้ หรือว่าเมื่อสวมเสื้อพรรคการเมืองแล้วสีน้ำเงินมันหายไปจริงๆ”

โดยนายพีระพันธุ์ปิดท้ายว่า “ใครไม่เอามาตรา 112 ไม่เอามาตรา 116 ก็แล้วแต่ แต่ผมเอา และจะปกป้องทั้งสองมาตรานี้ตลอดไป”

เช่นเดียวกับ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า ก็โพสต์เฟซบุ๊ค เตือนว่า อย่าเอา ม.112 มาสร้างความขัดแย้ง หวังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางการเมือง  โดยนายอรรถวิชช์ โพสต์ข้อความว่า
“…ผมไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ถ้ าคิดแบบปฏิบัตินิยมในสถานการณ์ปัจจุบัน หากยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะเร่งความขัดแย้งในชาติให้รุนแรงขึ้นอีก เช่น

1.) เกิดการดูหมิ่นต่อสถาบันมากขึ้น

2.) เกิดความขัดแย้งสองฝ่าย และจะนำไปสู่การปะทะกันบนท้องถนน  

3.) เกิดวิกฤตการเมืองรอบใหม่ เป็นช่องว่างทำให้เกิดการแทรกแซงทางการเมือง เข้ายึดอำนาจหรือรัฐประหารอีก

ทุกฝ่ายต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดวิกฤตการเมืองอีก ผมว่าประเทศเราพอแล้วกับเรื่องวิกฤตการเมือง  ยิ่งแก้ก็ยิ่งแน่น วิกฤตข้างหน้ามันคือวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคระบาด งานสำคัญคือการปรับรูปแบบการบริหารราชการขนานใหญ่ ให้ทันโลกทันวิกฤตใหม่  มีเรื่องที่คุ้มค่าแก่การทะเลาะกันทางความคิดเพื่อประโยชน์ชาติอีกมาก

การสร้างคะแนนนิยมบนความเกลียดชังหรือความขัดแย้ง แบ่งคนออกเป็นสองฝ่าย วันนี้ต้องสิ้นสุดเสียที”
ซึ่งผมเห็นด้วย ทั้งกับคุณพีระพันธ์และคุณอรรถวิชช์
นายชัยเกษมกับพรรคเพื่อไทย “สิ้นปัญญา” จะออกแบบนโยบายเพื่อครองใจคน เพื่อชนะการเลือกตั้ง เพื่อได้อำนาจในการบริหารประเทศแล้วหรือ ถึงเลือกหาประโยชน์จากความขัดแย้ง เกลียดชัง หวัง “แบ่งแยกแล้วปกครอง”
เชื่อว่าประชาชนคนไทย ไม่เอากับวิธีสั่วๆ และชั่วๆ เช่นนี้แน่
บ้านเมืองบอบช้ำมามากพอแล้ว ผู้คนเผชิญหน้ากันมากพอแล้ว  หยุดหาประโยชน์จาก “อารมณ์โกรธ กลัว เกลียด” ของประชาชนกันเสียที!!!

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 สิงหาคม 2565

อนาคตที่ฝากไว้กับ 3 ป. กับปลายทางความหวังที่ริบหรี่

อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565

“โทนี่” ทุบโต๊ะ ไม่แตกแบงค์พัน ปักธง “เพื่อไทย” รบทุกกติกา

อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565

10 ส.ค.ชี้ชะตาสูตรหารปาร์ตี้ลิสต์ ปักธงกำหนดเกมเลือกตั้ง

อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565

‘เสรีพิศุทธ์’ ลุยเอง ยื่นยุบ 7 พรรคเล็ก รับกล้วยจากพรรคใหญ่

อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565

ให้โอกาสผม! ‘พีระพันธุ์’ พร้อมทำหน้าที่ ‘ผู้นำประเทศ’ ลั่น ‘รทสช.’ มุ่งเป็นพรรคหลัก

อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565

‘อนุทิน’ โหมหนัก! ชิงเก้าอี้ ‘นายกฯ’ สมัยหน้า คุย ‘พุทธิพงษ์-บ้านใหญ่นครปฐม’

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021