Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

บ้านเมืองของเรา

ความผุพังทางวิชาการของ ‘ธรรมศาสตร์’

15 มีนาคม 2564

วันอาทิตย์ ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา

12 มีนาคม 2564 เพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration โพสต์ข้อความคร่ำครวญว่า “ความยุติธรรมที่ไม่มีอยู่จริง! เมื่อศาลไม่ให้ประกันตัว “รุ้ง-เพนกวิน-ไผ่”ศาลอาญายกคำร้องการยื่นขอประกันตัวรุ้ง-เพนกวิน-ไผ่โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมทั้งที่รุ้ง-เพนกวิน มีความจำเป็นด้านการเรียน เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สอบกลางภาคของมธ.” โดยมีเนื้อความว่า…

“…วันนี้ เวลา 09.00 น. ที่ศาลอาญา คณาจารย์จากมหาวิทยาธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับทนายความ ได้เข้าไปยื่นเรื่องขอประกันตัวรุ้ง-เพนกวิน-ไผ่ ที่ยังถูกคุมขัง โดยใช้หลักทรัพย์ประกันมากถึงคนละ 500,000 บาท เพราะทางอาจารย์กังวลว่า การคุมขังอาจกระทบกับการเรียนของรุ้งและเพนกวิน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการจัดสอบ และนักศึกษาจำเป็นต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อทำงานวิจัย

แต่ผลตัดสินของศาลกลายเป็นว่า ไม่อนุญาตให้มีการประกันตัวหลังมีการร้องขอ ทั้งที่ได้แสดงเหตุผลและความจำเป็นในการยื่นคำร้องขอประกันตัวแล้วก็ตาม โดยระบุว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และไม่มีการตอบเรื่องการเรียน

เมื่อการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักศึกษาผู้เป็นอนาคตของชาติ กลับทำให้พวกเขาอาจสูญเสียอนาคตที่ตนควรจะได้รับ

แล้วประเทศนี้ จะยังกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยได้อย่างไร?…”

หากอ่านเพียงผิวเผิน อาจเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ถึงความอยุติธรรม แต่หากตั้งหลัก ตั้งสติ จะพบความพร่อง “ตรรกะ” ในหลักคิด ซึ่งไม่ควรโทษเด็กและเยาวชนเหล่านี้ เพราะผลลัพธ์ในการรับรู้-เข้าใจชีวิต ย่อมเกิดจากประสบการณ์ วิชาการ และจินตนาการผลงานกัน หากจินตนาการมาก วิชาการบิดเบี้ยว และประสบการณ์น้อย ก็มีย่อมมีสิทธิ “ไม่เข้าใจ” นำมาสู่ความสะทกสะท้อนใจ และคร่ำครวญฟูมฟายไปตามวัยมิได้

ในกรณีนี้ สิ่งที่ควรทำให้พวกเขาเข้าใจก็คือ

1) การไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นไปตาม“หลักวิชาการ” ที่อธิบายได้ เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” บัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว

2) ในเวลาที่คนที่เรารัก ชื่นชม ใกล้ชิด มีเหตุให้ถูกกระทำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ประสาปุถุชนมนุษย์มีโอกาสลำเอียงเพราะรัก เห็นผิดเป็นชอบ คิดเข้าข้างโดยวางสติปัญญาจนย่อหย่อนลงได้ ความเขลา ความฟูมฟายย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

3) จงเข้าใจว่า ตลอดหลายครั้งที่ผ่านมา เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้น หาใช่เรื่องของ “หลักทรัพย์ค้ำประกัน” หรือ “นายประกัน” ไม่ แต่เกิดจากพฤติกรรมที่จำเลยได้กระทำ หลังจากก่อนหน้านี้เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหรือเคยได้รับการประกันตัวมาแล้ว แต่ยังไปก่อการซ้ำโดยมิได้ยำเกรง เคารพ ต่อเงื่อนไขของการได้รับประกันตัวไม่ โดยเฉพาะในทางกฎหมาย พฤติกรรมที่ไปก่อเพิ่ม ก่อซ้ำนั้น มีอัตราโทษสูง และมีผลกระทบทางสังคมมาก ดังนั้น การจะหาหลักทรัพย์ไปโปะเพิ่มจึงมิใช่การแก้ที่สาเหตุ จะกวาดต้อนนายประกันด้วยตำแหน่งทางวิชาการของนักวิชาการทั้งประเทศมาขอ ก็มิได้ตรงกับตัวปัญหา

4) การเรียน การสอบ เป็นความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล ที่พึงรู้ มีสติ และจัดลำดับความสำคัญในชีวิตด้วยตนเอง มิใช่ความรับผิดชอบทางกฎหมาย หรือเป็นความรับผิดชอบของศาล ศาลมีหน้าที่พิจารณา “พฤติกรรม-พฤติการณ์” การกระทำผิดกฎหมายที่อัยการคุมตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้อง ศาลประทับรับฟ้อง เปลี่ยนสถานภาพเป็น “จำเลย” บุคคลที่ขึ้นศาลเป็นจำเลย จะเป็นนักศึกษา ชาวบ้านร้านตลาด ข้าราชการ หรืออะไรก็ตาม เป็นเรื่องของเขา มิใช่เรื่องของศาล ศาลมีหน้าที่พิจารณาพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงของเขา ว่าจะไปทำผิดกฎหมายซ้ำและก่อผลกระทบต่อสังคมหรือไม่ เพียงใด เป็นหลัก

5) จึงอย่าได้ค่อนขอดศาล และพาลตำหนิประเทศเลยว่า หาประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะประชาธิปไตย หรือลัทธิการปกครองใดก็ตาม ล้วนต้องตั้งอยู่บนความชอบด้วยกฎหมาย จารีตประเพณี และค่านิยมของสังคม ผสมๆ กันไปทั้งสิ้น ทุกๆ การกระทำของเรา จึงไม่ใช่แค่เรื่องเสรีภาพที่เราเพ้อหา หากแต่ตั้งอยู่บน “ความรับผิดชอบ”ที่ต้องพร้อมจะรับผิดชอบด้วย ไม่ใช่นึกจะทำอะไร ด้วย“วิธี” อะไรก็ได้ แล้วมาคร่ำครวญว่าประเทศไม่มีประชาธิปไตย มันเป็นการปรักปรำประเทศที่มากเกินไป

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาศักยภาพการถ่ายทอด “วิชาการ ประสบการณ์ และจินตนาการ” ให้แก่ลูกศิษย์ได้แล้วนะครับ เพราะจะเห็นว่า เป็นสำนักที่สังคมจับตามองว่า “ผลผลิต” มีวิธีการคิด การกระทำ และการแสดงออกที่ “พิลึก” หลายประการ

เช่น…

10 มี.ค. 2564 เฟซบุ๊ค Harirak Sutabutr ของ รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความตอบโต้กรณีก่อนหน้านี้ อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล โพสต์เฟซบุ๊คแสดงความเห็น ชี้ประเด็นแกนนำม็อบ 3 นิ้ว ควรได้ประกันตัวตามกฎหมาย ซึ่งศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวแกนนำ 3 นิ้วหลายคน ว่า

“ผู้สนับสนุนม็อบ 3 นิ้ว ต่างดาหน้ากันออกมาเรียกร้องให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำม็อบ 3 นิ้วที่ต้องคดี ตามมาตรา 112 และ 116 ด้วยเหตุผลว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนและตามหลักยุติธรรมสากล ต้องถือว่า ผู้ถูกจับกุมเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดจริง

ไม่น่าเชื่อว่า ผู้ที่ออกมาเรียกร้อง หลายคนก็เป็นนักกฎหมาย แต่กลับอ้างข้อมูลทางกฎหมายที่ไม่ครบถ้วน พูดเสมือนหนึ่งว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตราบใดที่การพิจารณาคดียังไม่ถึงที่สุด ศาลจะต้องอนุญาตให้ปล่อยตัว
ชั่วคราวทุกรายไป การพูดเช่นนี้ แม้ไม่ได้พูดตรงๆ แบบผู้ที่อยู่ในม็อบ และใน Social Media แต่ก็มีนัยว่าศาลไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลยที่เป็นแกนนำเหล่านี้ ซึ่งทาง อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ก็โพสต์ facebook ความตอนหนึ่งว่า

“การได้รับการประกันตัวในคดีอาญา หรือที่กฎหมายใช้คำว่า ปล่อยตัวชั่วคราวนั้น เป็นสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคน ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติไว้ในมาตรา 107 ว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ….”

อ.ปริญญา กลับไม่ได้ให้ข้อความในมาตรา 107 ให้ครบถ้วน เพราะในมาตรา 107 มีการระบุต่อจากนั้นอีกว่า “ ….พึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 มาตรา 108/1 …”

ในที่นี้จึงได้คัดลอกข้อความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 107 มาตรา 108 และมาตรา 108/1 มาให้อ่านกันแบบไม่ตัดทอนดังนี้

มาตรา 107 เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 มาตรา 108/1 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 และมาตรา 113/1 คำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยทันที

มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบด้วย

(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา

(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

(3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร

(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด

(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี

(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ

(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว

จะเห็นว่า ข้อความที่ว่า “ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว” จึงไม่ใช่เป็นการอนุญาตให้ปล่อยตัวโดยอัตโนมัติ แต่ศาลจะต้องวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวโดยพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 108 การไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จะทำได้หากมีเหตุอันควรเชื่อ 5 ข้อ ตามมาตรา 108/1

สรุปสั้นๆ คือ การได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นสิทธิที่พึงได้รับ แต่ศาลต้องวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามเงื่อนไขตามมาตรา 108 และศาลอาจจะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวก็ได้ หากมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งใน 5 เหตุ ตามมาตรา 108/1

ยังดีที่ อ.ปริญญา ระบุต่อมาในโพสต์ว่า “แม้ว่าศาลจะมีดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้…..” แต่ก็ได้เปิดประเด็นใหม่ขึ้นมาอีกประเด็น คือ รัฐธรรมนูญมาตรา 29 บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

ดังนั้น ตามข้อวินิจฉัยของ อ.ปริญญา การนำผู้ต้องหาหรือจำเลย ไปขังไว้ในที่เดียวกันกับนักโทษอื่นๆ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 29 เพราะเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำผิด ทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด

อยากรู้ว่า หากในที่สุด แกนนำ กปปส. 8 คน ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว อ.ปริญญา จะพยายามค้นคว้าหาข้อกฎหมาย และออกมาแสดงความเห็นแบบนี้เหมือนกันหรือไม่ รวมทั้งคดีอื่นๆ ที่ผ่านมาอีกกี่หมื่นคดีที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยเล่า ทำไมไม่เคยออกมาแสดงความเห็นแบบนี้บ้าง

ดูเหมือนจะเป็นวันเดียวกัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ออกแถลงการณ์ ซึ่งผมหวังอย่างยิ่งว่า จะเป็นแถลงการณ์ปลอม เพราะแค่เห็นหัวเรื่องก็ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสียแล้ว แถลงการณ์ฉบับนี้ใช้หัวเรื่องว่า “ขอให้คำนึงถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกจับกุม”

อย่าลืมว่า ผู้ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวคือศาล ไม่ใช่ตำรวจ ไม่ใช่รัฐบาล หัวเรื่องอย่างนี้ย่อมเป็นการสื่อความว่า ศาลไม่ได้คำนึงถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกจับกุม ไม่ต่างจากที่ผู้สนับสนุนม็อบทั้งหลายที่ออกมาเรียกร้อง

ในแถลงการณ์ยังระบุว่า นักศึกษาที่ถูกจับกุมดำเนินคดี ก็เพราะเกี่ยวข้องกับการชุมนุม และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตามความเป็นจริง ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในรอบแรก 4 คน ในรอบนี้อีก 3 คน ที่เหลือศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวทั้งหมด ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้งหมด ไม่ได้ถูกจับกุมเพียงเพราะไปร่วมชุมนุม และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ได้กระทำผิดกฎหมายตามมาตรา 112 เป็นความผิดคนละหลายต่อหลายกระทง มีพยานหลักฐานที่แน่นหนา เป็นคลิปวีดีโออย่างครบถ้วน และได้กระทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เชื่อได้เลยว่าหากได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ก็จะกระทำอีก

การแสดงความห่วงใย และช่วยเหลือนักศึกษาที่ถูกจับกุมดำเนินคดีเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่การออกแถลงการณ์ที่ตัดทอนข้อเท็จจริงบางประการออก เพื่อเป็นคุณกับนักศึกษาที่จะอย่างไรก็ทำผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ไม่น่าจะใช่วิถีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ว่าในยุคใดสมัยใด

แม้ผมไม่ใช่ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ แต่ผมมีความรักและผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าศิษย์เก่าแต่ความเที่ยงตรงในข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังนั้น จึงยังคงมีความหวังว่า แถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยฉบับนี้จะไม่ใช่แถลงการณ์จริง แม้ความหวังของผมจะเป็นเพียงความหวังอย่างลมๆ แล้งๆ ก็ตาม”

นั่นคือข้อความและความเห็นของอาจารย์หริรักษ์ ซึ่งถือว่าตรงไปตรงมา ไม่มีอคติ และปราศจากซึ่งอารมณ์ใดๆ

จึงขอย้ำว่า ประชาคมธรรมศาสตร์ ต้องทบทวนบทบาทของตัวเองอีกครั้ง

เพราะสังคมกำลังตั้งคำถามว่า เพราะมีคณาจารย์แบบนี้ ผลลัพธ์จึงมีลูกศิษย์ที่ “วิธีคิด” และพฤติกรรมการแสดงออกเป็นไปเช่นนี้ ใช่หรือไม่

อย่าให้มีอาจารย์ใดๆ ผลักไสลูกศิษย์ไปติดคุกด้วยความเขลาและไม่เท่าทันอีกเลยครับ!!

.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1 กรกฎาคม 2565

จาก “ฟูจิฟิล์ม” ถึง “โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร”

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

3 ทักษะจำเป็น เด็กเล็กยุคดิจิทัล

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

มองภาพรวม ‘ค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน’ กับ ‘สุชัชวีร์’

อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2565

เลือกตั้งครั้งหน้าพรรคไหนจะมาเป็นรัฐบาล 

อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2565

หมอบกราบครู เพราะสำนึกในพระคุณของครู

อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2565

พปชร.กับศึกเลือกตั้งที่รออยู่ วันที่ สมรภูมิรบไม่เหมือนเดิม

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021