Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

บ้านเมืองของเรา

ปาหี่แก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล

19 มีนาคม 2564

เผยแพร่: 18 มี.ค. 2564 10:08   ปรับปรุง: 18 มี.ค. 2564 10:08   โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้แต่ต้องไปทำประชามติถามประชาชนเจ้าของอำนาจก่อน และหลังจากร่างเสร็จแล้วไปขอประชามติอีกครั้ง แต่ติดขัดกันว่าครั้งแรกที่ว่าถามประชาชนก่อนนั้นถามตอนไหน

มีความเห็นแตกต่างกันไปทั้งภายนอกสภาฯ และในสภาฯ ว่า ให้ลงประชามติวาระ 3 ที่ค้างอยู่ก่อนแล้วไปทำประชามติ และอีกฝ่ายซึ่งมีฝ่าย ส.ว.อยู่ด้วยบอกว่าให้กลับไปทำประชามติก่อนและกลับมายกร่างกันใหม่

จนกระทั่งประธานรัฐสภาต้องเปิดให้สมาชิกแสดงความเห็นตลอดทั้งวันจนค่ำ ในตอนแรกจะให้โหวต 3 มติในความเห็นที่แตกต่างกันคือ โหวตไม่ได้เพราะขัดคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ หรือเลื่อนไปถามศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดก่อน หรือควรโหวตวาระ 3 ไปเลยหรือไม่

แต่ปรากฏว่าที่เถียงกันมาแต่เช้าทั้งสามแนวทางตกไปหมด เพราะอยู่ๆ นายไพบูลย์ นิติตะวัน เสนอญัตติด่วนเข้ามาใหม่ให้เดินตามระเบียบวาระคือโหวต วาระสามเหมือนกับไม่เกรงใจประชาชนที่ฟังการถกเถียงกันมาทั้งวัน

ในขณะที่ฝ่ายค้านก็งัดข้อเสนอนี้เพราะรู้ว่ายังไงก็ต้องโหวตแพ้ฝั่งรัฐบาลที่มีเสียง ส.ว.หนุน แม้ประชาธิปัตย์จะโหวตเห็นชอบกับร่างวาระ 3 ร่วมกับฝ่ายค้านก็ตาม เมื่อตกไปฝ่ายค้านจะได้ไปโจมตีว่ารัฐบาลคือพลังประชารัฐไม่จริงใจกับการแก้รัฐธรรมนูญ ปลุกการเมืองบนท้องถนนให้กลับมาคึกคักอีก

สะท้อนความไม่จริงใจในการแก้รัฐธรรมนูญของฝั่งรัฐบาล แม้กระทั่งร่างที่ตัวเองเสนอก็ไม่ปกป้อง ขัดกับสิ่งที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาไว้ในตอนเข้ารับตำแหน่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเร่งด่วนซึ่งเป็นพันธสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน

แม้รัฐสภาจะมีมติไปแล้ว แต่ผมอยากบันทึกความเห็นตัวเองไว้ว่าผมคิดเรื่องนี้อย่างไร

ผมคิดว่าต้องโหวตวาระ 3 ก่อนแล้วไปถามประชาชน เพราะถ้าไปถามประชาชนก่อน และกลับมายกร่างแก้ไขมาตรา 256 ใหม่มันจะกลายเป็นวกไปวนมา ผมถามว่า ถ้าทำอย่างนั้นเกิดประชาชนมีประชามติให้แก้ แล้วไปยกร่างแก้มาตรา 256 เกิด ส.ว. 1 ใน 3 ไม่ยอมให้จะทำอย่างไร มันจะขัดกับมติของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจไหม แต่ถ้าผ่านวาระ 3 ก็ต้องไปทำประชามติตามมาตรา 256(8) อีกครั้งเป็นครั้งที่สองใช่ไหม พอยกร่างเสร็จก็ต้องไปทำอีกครั้งเป็นครั้งที่สาม มันก็เกินที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมา

ผมไม่คิดว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจวินิจฉัยเกินไปจากรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ ดังนั้นครั้งแรกที่ต้องทำประชามติ ผมคิดว่ามาจากบทบัญญัติในมาตรา 256(8)นั่นแหละ

แล้วถ้าไปถามก่อนคือไปถามประชาชนเลยมันจะงงไหมครับว่า คำถามมาจากไหนอยู่ๆ ถึงไปถามประชาชนว่าจะแก้รัฐธรรมนูญไหม ในเมื่อชัดเจนว่าสภาฯ มีอำนาจที่จะแก้ไขได้แต่ต้องไปถามประชาชนก่อน มันจึงต้องเริ่มจากรัฐสภามีมติกันว่าจะแก้คือ ทำตามมาตรา 256 คือไปแก้ไขขั้นตอนและวิธีการให้จบก่อนแล้วไปถามประชาชนว่าจะแก้ไหม จากนั้นถ้าประชาชนบอกว่าไม่แก้ก็ตกไป ถ้าประชาชนบอกว่าแก้ก็ไปเลือก สสร.เมื่อได้รัฐธรรมนูญใหม่จึงกลับไปถามประชาชนอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง

ในความเห็นของผมการเพิ่มเติมหมวด 15/1 นั้นเป็นเพียงวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องร่างโดย สสร.ไม่ใช่รัฐสภาชุดนี้

เอาเถอะสุดท้ายรัฐสภามีมติไปแล้วตามข้างต้น แต่บันทึกไว้ว่าผมคิดอย่างนี้ก็แล้วกันว่า ผมมีความเห็นข้อขัดแย้งนี้อย่างไร

แต่การลงมติในสภาฯ ก็เป็นเรื่องของเสียงข้างมากลากไป ไม่ใช่เครื่องยืนยันว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก

ผมต้องย้ำอีกครั้งว่า ผมเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น ผมยืนอยู่ในฝ่ายรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในการทำประชามติ เพราะผมเห็นตั้งแต่ตอนนั้นว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย คสช.ที่เขียนเปิดช่องไว้ให้คณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจนั้นจะนำมาสู่วิกฤตในอนาคต แล้วเราก็เห็นอยู่แล้วว่าเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอย่างไร

ผมยังคิดว่ากติกาที่ไม่เป็นธรรมนั้นไม่สามารถนำมาสู่ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันได้ มีอย่างที่ไหน คสช.ตั้ง 250 ส.ว.มาแล้ว ให้ ส.ว.สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส.ได้ แล้วหัวหน้า คสช.ก็มาเป็นตัวเลือกนายกรัฐมนตรีเสียเอง สุดท้าย ส.ว. 250 คนก็ลงคะแนนเป็นฝักถั่วเลือกคนที่เลือกตัวเองมาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นเรื่องขัดกันแห่งผลประโยชน์

และวันนี้ก็กลายเป็นข้ออ้างหนึ่งที่ทำให้ม็อบออกมาบนถนน และลามไปสู่การก้าวล่วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นการเขียนกติกาที่บิดเบี้ยวตามรัฐธรรมนูญใบสั่งนี่เองที่เป็นต้นเหตุของวิกฤตทั้งหมด

แม้ว่าจะอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการทำประชามติของประชาชน แต่เราเห็นอยู่แล้วว่า เป็นการทำประชามติที่ไม่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะมีอุดมการณ์การเมืองอย่างไร สนับสนุนทางการเมืองฝ่ายไหน เราก็ต้องยึดมั่นในกติกาที่เป็นธรรมด้วยกันทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต้องมาถกเถียงกัน

และแม้ว่าข้ออ้างในการเรียกร้องของม็อบหลายประเด็นไม่มีความชอบธรรม แต่ผมเห็นว่าข้อเรียกร้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยของม็อบนั้น เป็นข้อเรียกร้องที่มีความชอบธรรม เพราะที่มาของรัฐธรรมนูญ 2560 นั้น ไม่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ อย่างที่ม็อบกล่าวหา และเป็นช่องทางให้รัฐบาล คสช.สามารถสืบทอดอำนาจผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้งได้

วันนี้เราเห็นแล้วว่าการเมืองในขั้วรัฐบาลนั้นอยู่ในอำนาจของ 3ป.เท่านั้น ไม่ใช่อยู่ในอำนาจของนักการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชน

ดังนั้นถ้าเราจะให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ เราต้องทำกติกาของบ้านเมืองคือรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ผมคิดว่าถ้าม็อบไม่มีข้ออ้างเรื่องรัฐธรรมนูญ นอกจากเขาจะได้เลือกตั้งใหม่เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นธรรมแล้ว จะทำให้เขาไม่สามารถอ้างการชุมนุมเพื่อไปกระทบกระทั่งต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เลย เพราะเป็นข้ออ้างที่ไม่ได้ยอมรับจากคนส่วนใหญ่อย่างแน่นอน

เราอาจจะมองว่าม็อบไม่มีศักยภาพที่จะทำลายความเข้มแข็งและเสถียรภาพของรัฐบาล และกำลังอ่อนแอลงทุกขณะ แกนนำกำลังเดินเข้าคุกเพราะไปก้าวล่วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นองค์ประมุขของประเทศ แต่เราต้องนึกถึงอนาคตข้างหน้าในวันที่คนอีกรุ่นร่วงโรยและจากไปตามกาลเวลา เราต้องช่วยกันนึกใช่ไหมว่าจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นดำรงและปรับตัวอยู่คู่กับสังคมไทยได้อย่างไร

ผมคิดว่าเราต้องทำความเข้าใจกับคนรุ่นใหม่ตั้งแต่วันนี้ แต่ต้องเอาพวกเขาออกจากถนนที่เต็มไปด้วยอารมณ์และโมหะที่ถูกนักวิชาการบางฝ่ายปลูกฝังให้เชื่อด้วยข้อมูลที่ผิดๆ เสียก่อน ให้บรรยากาศการเมืองมีความนิ่งพอที่จะพูดคุยด้วยเหตุผล ให้พวกเขาเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นมีคุณูปการต่อสังคมไทยอย่างไร ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาถูกปลุกปั่นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น เป็นส่วนเกินของระบอบประชาธิปไตย

แต่ถ้าเราจะคุยกันเราต้องทำกติกาให้เป็นธรรมและทุกฝ่ายยอมรับเสียก่อน

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปแล้ว แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะบอกว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน แต่เราก็เห็นความไม่จริงใจของรัฐบาลที่จะดับวิกฤตในบ้านเมืองที่กระทบต่อทุกสถาบันนั่นแหละ

ติดตามผู้เขียนได้ที่https://www.facebook.com/surawich.verawan

.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

24 มิถุนายน 2565

เตรียมตัว! โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน จ่อเปิดรับผู้สนใจฝึกอบรมหลักสูตรจิตอาสา 904 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

การทรงงานของในหลวง 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

ดร.นิว ขอบคุณ ‘สมศักดิ์เจียม’ ฉีกหน้ากากหัวหอกคณะราษฎร 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

เปิดราคาที่สังคมไทยต้องจ่าย หาก ‘ทักษิณ’ กลับประเทศไทย! 

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

ปลื้มปีติ ‘ในหลวง’ พระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตที่หายป่วยโควิดเป็นกรณีพิเศษ 

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

‘ผู้พันเบิร์ด’ เล่า ‘ร.10’ ทรงงานแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021