Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

บ้านเมืองของเรา

“ม็อบราษฎร” ปะทะเดือด สัญญาณชี้การชุมนุมใกล้จบ!

17 กุมภาพันธ์ 2564

เผยแพร่: 17 ก.พ. 2564 13:11   ปรับปรุง: 17 ก.พ. 2564 13:11   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

          “จตุพร” ดึงสติกลุ่มราษฎร ชี้ความรุนแรงคือสัญญาณการสิ้นสลายของม็อบ การชุมนุมที่ไร้เวที ไม่มีแกนนำ มวลชนจะระส่ำระสาย ควบคุมได้ยาก ด้าน “สมศักด์ เจียม” เตือนอย่าปะทะ เหตุประชาชนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยกับม็อบ ผลวิจัยระดับโลก ระบุ การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะสำเร็จ ต้องมียึดแนวทางสันติวิธี และมีประชาชนเข้าร่วมอย่างน้อย 3.5% ของทั้งประเทศ

          น่าเสียดายที่ภาพการชุมนุมของ “กลุ่มราษฎร” ในวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากวันเริ่มต้นจนแทบไม่เหลือภาพเดิม จากม็อบปัญญาชนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังบริสุทธิ์ของหนุ่มสาว ภายใต้จุดยืน “สันติวิธี” หลีกเลี่ยงการปะทะ กลายเป็นม็อบที่ไม่มีใครฟังใคร มุ่งแต่ใช้กำลังบุกทลาย ชุมนุมที่ไหน “เละ” ที่นั่น ล่าสุดการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ซึ่งนัดรวมพลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อกดดันให้รัฐปล่อยตัว 4 แกนนำ คือ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ทนายอานนท์ นำภา ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงค์ และสมยศ พฤกษาเกษมสุข คอลัมนิสต์ประจำเว็บไซต์ประชาไท ได้เกิดความวุ่นวาย ผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งกว้างปาขวดน้ำ ก้อนอิฐ และประทัดยักษ์ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนที่จะเกิดเหตุตะลุมบอน ปะทะกันอย่างรุนแรง เสียงคล้ายระเบิดดังเป็นระยะ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 23 นาย ผู้ชุมนุมถูกจับกุม 11 คน และยังมีผู้ชุมนุมและผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บอีกหลายคน

          ขณะที่โซเชียลต่างประณามการใช้ความรุนแรงของทั้งสองฝ่าย สื่อหลายสำนักวิเคราะห์ว่า การชุมนุมของกลุ่มราษฎรในวันที่ 13 ก.พ.เป็นการชุมนุมที่ล้มเหลว

          แต่ที่น่าสะดุดใจอย่างยิ่งคือ คำเตือนของ “นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่โพสต์เตือนผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ผ่านเฟซบุ๊ก “Somsak Jeamteerasakul” เมื่อ 14 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า… “ตอนนี้ไม่ว่าจะประเมินอย่างไร ต้องบอกว่า เรายังไม่พร้อม ยังมีคนจำนวนมหาศาลที่ยังไม่เอาด้วยกับเรา นอกจากนี้ เฉพาะหน้ามีเพื่อนเราถูกจับ ไม่ให้ประกัน เราต้องยึดมั่นในใจไว้ให้ดี การปะทะตอนนี้ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น”

          คำเตือนของนายสมศักดิ์ ดูจะสอดคล้องกับความเห็นของ “นายจตุพร พรหมพันธุ์” ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งได้วิเคราะห์สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มราษฎรไว้อย่างน่าสนใจ ว่า จากที่ได้ติดตามการชุมนุมของกลุ่มราษฎรที่ผ่านมา พบว่า แม้รูปแบบการชุมนุมครั้งนี้จะต่างจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา คือ เป็นการชุมนุมแบบแฟลชม็อบ ไม่มีการปักหลักพักค้าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังหนีวังวนซึ่งเกิดขึ้นในทุกการชุมนุมไม่ได้ก็คือความรุนแรง ซึ่งเป็น “โรคแทรก” ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายๆ ของวัฏจักรการชุมนุม เป็นช่วงที่ชุมนุมกันไปได้ระยะหนึ่ง การเรียกร้องต่างๆไม่เป็นผล บรรดาแกนนำถูกจับ ทำให้ไม่สามารถควบคุมผู้ชุมนุมได้ ไม่รู้ใครเป็นใคร ก็จะมีผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การปราบปราม เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ก็จะใช้กำลังเข้าจัดการ

          “สถานการณ์ตอนนี้มันผสมปนเปกันไปหมด ขนมผสมน้ำยา ไม่รู้ใครเป็นใคร แกนนำแบกความหวังของมวลชนไว้ แต่ดูเหมือนความสำเร็จมันห่างไกล ผู้ชุมนุมเหนื่อยล้า จึงเกิดโรคแทรก เริ่มใช้ความรุนแรง ซึ่งมีให้เห็นสักระยะแล้ว ไม่รู้ว่าเป็นผู้ชุมนุมอย่างเดียว หรือมีมือที่ 2 ที่ 3 ร่วมด้วย แม้คนส่วนใหญ่จะต้องการสันติวิธีแต่โรคแทรกมันยากที่จะป้องกัน จากสถิติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุม 6 ตุลาฯ 2519 การชุมนุมพันธมิตรฯ หรือการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ความรุนแรงมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่แกนนำประกาศยุติการชุมนุมไปแล้ว แต่มีผู้ชุมนุมบางส่วนที่ยังอารมณ์ค้างไม่ยอมเลิกและก่อความรุนแรงขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์นี้ก็มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายๆของวัฏจักรการชุมนุม เป็นสัญญาณว่าการชุมนุมนั้นๆ กำลังจะสิ้นสุดลง” นายจตุพร กล่าว

          ประธาน นปช. ยังบอกด้วยว่า ความเห็นของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม เพราะนายสมศักดิ์ วิเคราะห์จากสิ่งได้เห็นในการชุมนุมในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เป็นการยอมรับบนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

          อย่างไรก็ดี กลุ่มราษฎรยังคงขับเคลื่อนการชุมนุมต่อไป โดยประกาศกร้าวว่า ภายใน 7 วันนี้ ถ้ายังไม่มีการปล่อยตัว 4 แกนนำที่ถูกจับกุม จะมีการยกระดับการชุมนุมโดยนัดชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 20 ก.พ.นี้ และจะมีกลุ่มมวลชนจากต่างจังหวัดเดินทางมาสมทบด้วย

          ขณะที่จำนวนมวลชนที่จะมาร่วมชุมนุมนั้นเป็นไปได้ว่าอาจจะลดน้อยลง เพราะมวลชนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรม ‘เดินทะลุฟ้า คืนอำนาจประชาชน’ จากโคราชถึงกรุงเทพฯ ที่นำโดย ‘ไผ่ ดาวดิน’ หรือนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งเริ่มวันแรกเมื่อวันที่ 16 ก.พ.นั้น มีมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมเพียง 50 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ว่าพลังศรัทธาของมวลชนลดน้อยถอยลงอย่างมาก

          ทั้งนี้ ผลการวิจัยของ เชโนเว็ธ นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งร่วมกับ มาเรีย สเตฟาน จากศูนย์นานาชาติด้านความขัดแย้งแบบสันติ (International Center on Nonviolent Conflict) ในสหรัฐฯ ซึ่งได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 จนถึง 2006 พบว่า การชุมนุมที่จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้จะต้องมีผู้เข้าร่วมชุมนุมราว 3.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ และต้องเป็นการเข้าร่วมชุมนุมอย่างจริงจัง อีกทั้งพบว่าการเคลื่อนไหวแบบสันติมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จกว่าการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงถึง 2 เท่า โดย 53% ของการเคลื่อนไหวแบบสันตินำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในขณะที่การเคลื่อนไหวแบบรุนแรงแล้วประสบความสำเร็จคิดเป็นสัดส่วนแค่ 26% เท่านั้น

          ซึ่งจากตัวเลขประชากรในปี 2561 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 69.43 ล้านคน ดังนั้น ในทางทฤษฎีแล้วการชุมนุมของกลุ่มราษฎรจะบรรลุผลก็ต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 2.43 ล้านคน และต้องเป็นการชุมนุมแบบสันติวิธี ซึ่งตัวเลขขนาดนี้เห็นทีจะเป็นไปได้ยาก

          สิ่งที่น่าจับตาคือ หากวันนี้ (17 ก.พ. 2564) “รุ้ง” น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล พร้อมพวกอีก 24 คน ซึ่งมีนัดฟังคำสั่งฟ้องของอัยการในคดีร่วมกันกระทำผิดจากกรณีเข้าร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวงเช่นเดียวกับแกนนำทั้ง 4 คนที่ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพไปก่อนหน้านี้ ถูกอัยการสั่งฟ้องและไม่ให้ประกันตัวเช่นกัน ม็อบราษฎรจะขาดแกนนำไปอีกหนึ่งคน ซึ่งจะส่งผลให้มวลชนยิ่งระส่ำระสาย กลุ่มหัวรุนแรงที่แกนนำควบคุมไม่ได้และตั้งหน้าจะลุยอย่างเดียวก็คงจะใช้ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การชุมนุมเพื่อกดดันให้มีการปล่อยตัว 4 แกนนำซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.พ.นี้ จะเป็นสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงและต้องระมัดระวังอย่างยิ่งอย่างยิ่ง

          นายจตุพร ได้ประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ว่า เชื่อว่าการชุมนุมในวันที่ 20 ก.พ.นี้ จะหนักกว่ามื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา เพราะจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบอกว่าการชุมนุมครั้งต่อไปจะยิ่งควบคุมได้ยาก ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็สั่งสมความเครียดมานาน ทำให้ต่างฝ่ายต่างแรง ขณะที่การชุมนุมแบบไม่มีเวทีทำให้การสื่อไม่ชัดเจน ควบคุมอะไรได้ยาก และในช่วง 2-3 วันนี้ก็อาจจะมีแกนนำที่ถูกดำเนินคดีอีก เมื่อไม่มีแกนนำใครจะคุมใคร ขนาดมีแกนนำยังคุมไม่ได้

          “สถานการณ์นับจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการเข้าข้างตัวเอง เพราะจะทำให้การประเมินสถานการณ์ผิดพลาด ผู้ชุมนุมมักจะมองแต่ภาพที่เห็นอยู่ข้างหน้า ไม่ได้มองภาพจากมุมบนซึ่งจะเห็นสถานการณ์ทั้งหมด ขอเตือนว่าผู้ชุมนุมที่คิดเรื่องการใช้ความรุนแรงถือว่าพลาดตั้งแต่เดินลงถนนแล้ว เพราะทันทีที่ใช้ความรุนแรงมันคือสัญญาณของความพ่ายแพ้ จะเห็นได้ว่าทุกม็อบที่เกิดความรุนแรงจะขับเคลื่อนต่อไปได้อีกไม่นาน ก่อนที่จะสลายไปในที่สุด” นายจตุพร กล่าว

ส่วนว่าสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มราษฎรในวันที่ 20 ก.พ.นี้ จะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอีกไม่? และม็อบราฎรจะเดินไปในทิศทางใด? ก็คงต้องติดตามกันต่อไป ชนิดห้ามกะพริบตา!

.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

27 มิถุนายน 2565

นายกฯ อุ๊งอิ๊ง

อ่านต่อ
27 มิถุนายน 2565

มนต์ขลังของทักษิณ ที่ยังครอบงำสังคมไทย

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

เตรียมตัว! โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน จ่อเปิดรับผู้สนใจฝึกอบรมหลักสูตรจิตอาสา 904 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

การทรงงานของในหลวง 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

ดร.นิว ขอบคุณ ‘สมศักดิ์เจียม’ ฉีกหน้ากากหัวหอกคณะราษฎร 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

เปิดราคาที่สังคมไทยต้องจ่าย หาก ‘ทักษิณ’ กลับประเทศไทย! 

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021