Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

บ้านเมืองของเรา

ไทม์ไลน์ 'รัฐประหารในเมียนมา' จากข่าวลือสู่การบุกจับ 'อองซาน ซูจี' และคนสำคัญ

2 กุมภาพันธ์ 2564

1 ก.พ. 2564-11:08 น.

            ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีกระแสข่าวลือหนาหูถึงการรัฐประหารในเมียนมา จนกระทั่งในช่วงเช้าวันนี้ 1 กุมภาพันธ์ โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ได้แถลงว่านาง ซู จี และผู้นำของพรรคหลายคน รวมทั้งประธานาธิบดี ถูกทหารพาตัวจากบ้านพักไปตั้งแต่ช่วงรุ่งสาง

            ย้อนไทม์ไลน์ตั้งแต่วันที่ข่าวลือเริ่มแพร่สะพัดจนกระทั่งถึงการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปีในประเทศเมียนมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

            เมื่อเดือนพฤศจิกายน 63 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ภายใต้การนำของนางออง ซาน ซูจี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

            ผู้สนับสนุนนางซูจีและพรรคเอ็นแอลดีฉลองชัยชนะหลังทราบผลการเลือกตั้งเมื่อ 8 พ.ย. 2563

            ทำให้พรรคยูเอสดีพีที่ได้รับการสนับสนุนของกองทัพ ออกมาประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของผู้นำกองทัพเมียนมาที่กล่าวหาว่าพรรครัฐบาลร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งทุจริตการเลือกตั้ง

            ทางพรรคยูเอสดีพีและกองทัพยังขอให้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อหาทางออกจากสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “ทางตันทางการเมือง” ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงในวันที่ 31 ม.ค. ทว่าสภาปฏิเสธ เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจของ กกต. อีกทั้งยังเดินหน้าเรียกประชุมสมาชิกรัฐสภาชุดใหม่ในวันที่ 1 ก.พ. นี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่นายพลคนสำคัญของเมียนมา

            26 มกราคม โฆษกกองทัพเมียนมาไม่ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพจะยึดอำนาจเด็ดขาดเพื่อจัดการกับสิ่งที่กองทัพเรียกว่า “วิกฤตทางการเมือง”

            27 มกราคม พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา กล่าวในงานให้โอวาทนักเรียนเตรียมทหารแห่งวิทยาลัยป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศ

            โดยกล่าวว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่ของกฎหมายทั้งปวง แต่ “คงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ หากคนไม่ปฏิบัติตาม” ทั้งนี้ถ้อยแถลงของ พล.อ. อาวุโส มิน อ่อง หล่าย และถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เมียวดีฉบับวันรุ่งขึ้น (28 มกราคม)

            28 มกราคม พบบรรยากาศน่าสงสัย เมื่อรถถังหลายชนิดวิ่งออกมาบนท้องถนน ที่นครย่างกุ้ง อ้างว่าต้องการทดสอบเครื่องจักร และโฆษกพรรคเอ็นแอลดีกล่าวว่าสมาชิกพรรคเจรจากับผู้นำทหารแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และว่าหากเกิดการรัฐประหาร พรรคเอ็นแอลดีจะไม่ตอบโต้ด้วยกำลังทัพพม่าประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน”

            29 มกราคม สถานเอกอัครราชทูตชาติต่าง ๆ อย่างน้อย 16 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป พร้อมด้วย สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ต่างออกแถลงการณ์แสดงความวิตกต่อข่าวความเป็นไปได้ที่กองทัพเมียนมาอาจก่อรัฐประหาร ระหว่างสถานการณ์การเมืองถึงทางตัน

            และประชาชนผู้สนับสนุนพรรคยูเอสดีพีหลายร้อยคนชุมนุมประท้วง กกต. ทั้งที่กรุงเนปิดอว์และกรุงย่างกุ้ง แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บและไม่มีรายงานการใช้ความรุนแรง

            30 มกราคม กลุ่มชาวเมียนมาผู้สนับสนุนกองทัพ ร่วมด้วยพระสงฆ์สายชาตินิยม ชุมนุมประท้วงต่อต้านคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ด้านนอกเจดีย์ชะเวดากองในนครย่างกุ้ง

            ในขณะที่กองทัพเมียนมาออกแถลงการณ์สยบความเป็นไปได้ในการรัฐประหารว่าข่าวที่ออกมาเป็นความเข้าใจผิด “ขอยืนยันว่ากองทัพให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ และจะทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย ขณะเดียวกันพิทักษ์กฎหมายด้วย”หลังกองทัพเพิ่งปัดรัฐประหาร

            31 มกราคม กองทัพเมียนมาแถลงการณ์ เรียกร้องให้บรรดานักการทูตต่างชาติในเมียนมาอย่าเพิ่งคาดเดาอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และขอให้นานาชาติ “อย่ายอมรับ” ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่าเป็นเรื่องปกติ

            1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าบุกจับ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่า รวมถึง ประธานาธิบดีวิน มินต์ และแกนนำพรรค เมื่อช่วงเช้าตรู่วันนี้ ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่จะเปิดประชุมครั้งแรกในวันนี้

            และได้ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี พร้อมแต่งตั้งนายทหารยศพลเอกขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการประธานาธิบดี

.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

24 มิถุนายน 2565

เตรียมตัว! โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน จ่อเปิดรับผู้สนใจฝึกอบรมหลักสูตรจิตอาสา 904 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

การทรงงานของในหลวง 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

ดร.นิว ขอบคุณ ‘สมศักดิ์เจียม’ ฉีกหน้ากากหัวหอกคณะราษฎร 

อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2565

เปิดราคาที่สังคมไทยต้องจ่าย หาก ‘ทักษิณ’ กลับประเทศไทย! 

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

ปลื้มปีติ ‘ในหลวง’ พระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตที่หายป่วยโควิดเป็นกรณีพิเศษ 

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

‘ผู้พันเบิร์ด’ เล่า ‘ร.10’ ทรงงานแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021