Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

บ้านเมืองของเรา

เมื่อนายกฯ ประกาศเตรียมเปิดประเทศ แต่คนไทยกำลังหนี้ท่วม

16 ตุลาคม 2564

กรุงเทพธุรกิจ

เมื่อนายกฯ ประกาศเตรียมเปิดประเทศ แต่คนไทยกำลังหนี้ท่วม กว่า 70% รายได้ลดลง และ 20% เผยว่า ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้ว ส่งผลกระทบตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศปีนี้ชะลอตัว
.
จากผลสำรวจ “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในไตรมาส 3/2564” ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดทำร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สำรวจความเห็นคนไทยทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 1,540 คน และผู้ประกอบการ 740 ราย ระหว่างวันที่ 15 ส.ค.-5 ก.ย.2564 ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ และลงพื้นที่
.
พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยในไตรมาส 4 นี้มากอันดับ 1 ที่ 83% คือจำนวนผู้ติดเชื้อหรือความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามด้วย 36% เป็นเรื่องสถานะทางการเงิน อันดับ 3 วันหยุดยาว 33% และโปรโมชั่นต่าง ๆ ส่วนลดด้านค่าเดินทางและที่พักจากภาครัฐหรือสถานประกอบการ 23%
.
“วิกฤติโควิดกระทบต่อรายได้คนไทย 73% โดย 70% มีรายได้ลดลง มีเพียง 3% เท่านั้นที่ระบุว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น” นางสาวผกากรอง เทพรักษ์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าว
.
เมื่อเจาะกลุ่มคนไทย 70% ที่มี #รายได้ลด พบว่าลดลงเฉลี่ยคนละ 40% ของรายได้ที่เคยรับ โดยกว่า 78% มีภาวะหนี้สิน ในจำนวนนี้ 30% มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยคนละ 40% ของรายได้เดิม
.
ทั้งนี้คนไทยที่มี #หนี้สิน จะต้องจ่ายเฉลี่ย 40% ของรายได้ต่อเดือน หนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อซื้อสินค้า 55% รองลงมาเป็นหนี้เพื่อการบริโภคประจำวัน 44% และหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย 43%
.
ขณะที่ #ความสามารถในการชำระหนี้ คนไทย 20% ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้ว อีก 20% ไม่แน่ใจว่าจะชำระได้หรือไม่
.
จากสถานการณ์ดังกล่าว ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวจากนี้ที่จะเป็นไปได้ยาก และอาจทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศปีนี้ชะลอตัว
.
สำหรับ #แผนการเดินทาง ของประชาชนในไตรมาส 4 พบว่า

  • 36% มีแผนเดินทางไปต่างจังหวัด
  • 33% มีแผนเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว
  • กว่า 44% ยังไม่ตัดสินใจเดินทาง รอดูสถานการณ์การแพร่ระบาด มาตรการควบคุมโรคว่าเอื้อต่อการท่องเที่ยวหรือไม่ และรอดูมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากภาครัฐและภาคเอกชน
    .
    สำหรับ 54% ของคนไทยที่มีแผนเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว จะไปจังหวัดใกล้เคียงหรือจังหวัดที่ใช้เวลาเดินทางไม่นาน โดย 41% มีแผนท่องเที่ยวภายในจังหวัดตัวเอง ขณะที่ 32% มีแผนเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดห่างไกลหรือจังหวัดที่ใช้เวลาเดินทางนาน
    .
    ส่วน #ภูมิภาคที่คนไทยมีแผนไปท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ภาคเหนือ 59% รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ได้รับความนิยมใกล้เคียงกันที่ 39% และ 40% คนไทยที่วางแผนท่องเที่ยวช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.2564 มีสัดสวนไม่สูงมากนัก 8% และ 11% ตามลำดับ ส่วนช่วงเวลาที่คนไทยมีแผนเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุดคือ เดือน ธ.ค. ประมาณ 28%

อ่านต่อ : https://www.bangkokbiznews.com/business/965530?anm=

.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1 กรกฎาคม 2565

จาก “ฟูจิฟิล์ม” ถึง “โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร”

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

3 ทักษะจำเป็น เด็กเล็กยุคดิจิทัล

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

มองภาพรวม ‘ค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน’ กับ ‘สุชัชวีร์’

อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2565

เลือกตั้งครั้งหน้าพรรคไหนจะมาเป็นรัฐบาล 

อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2565

หมอบกราบครู เพราะสำนึกในพระคุณของครู

อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2565

พปชร.กับศึกเลือกตั้งที่รออยู่ วันที่ สมรภูมิรบไม่เหมือนเดิม

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021