Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

การเมือง

บริหารโควิดเฟส 3 ‘ติดลบ’ กับข่าวลือยุบสภารีเซตใหม่

27 เมษายน 2564

25 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น.

  ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน ที่ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ พุ่งแตะถึง 1,000 ครั้งแรก จนถึงวันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังไม่เคยกลับไปต่ำกว่า 1,000 อีกเลย

         ที่น่ากังวลคือ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทยสร้าง “นิวไฮ” ด้วยการพุ่งขึ้นไปเกือบ 3,000 ราย

สถานการณ์ตลอดหลายวันที่ผ่านมาอยู่ในสภาวะ “ทรง” กับ “ทรุด” ยังไม่เห็นทิศทางหรือสัญญาณว่า กราฟตัวเลขผู้ติดเชื้อจะกลับลงไปต่ำกว่าหลักพันในเวลาอันรวดเร็วได้

การระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ นับเป็นวิกฤติที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยต้องเผชิญกับเชื้อมรณะไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่ต้นปี 2563

         ขณะเดียวกัน การระบาดระลอกนี้ไม่ได้น่ากังวลเพียงแค่ตัวเลข แต่ยังรวมถึงระบบการบริหารจัดการของรัฐบาล หรือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ที่ถูกมองว่า ทำคะแนน ติดลบ จากความไม่พร้อมในเรื่องต่างๆ

          เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมาดูเหมือนรัฐบาลจะชะล่าใจเกินไป ทำให้เมื่อกางตัวเลขออกมาดูพบว่า ไทยกลายเป็นประเทศในลำดับท้ายๆ ที่มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในปริมาณที่ยังน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ

         ที่ผ่านมารัฐบาล หรือ ศบค.พยายามบอกกับประชาชนว่า วัคซีนที่ดีที่สุดคือ มาตรการป้องกันสุขอนามัยส่วนตัวคือ สวมหน้ากาก ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่าง แต่เมื่อมีการระบาดในระลอกนี้ที่ติดเชื้อได้ง่ายและเร็ว ทำให้ถูกย้อนศรกลับว่า ตัดสินใจและประเมินผิดพลาดหรือไม่

          และการเดินหน้าจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมโดยเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นการที่ พล.อ.ประยุทธ์มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเจรจากับรัสเซีย เพื่อขอการสนับสนุนวัคซีนสปุตนิก วี และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากประธานาธิบดีวลาดีเมียร์ ปูติน หรือการที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เข้าไปพูดคุยกับบริษัท ไฟเซอร์ และมีสัญญาณที่กลับมา แม้ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในทางหนึ่งมันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่ามันเป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า ไม่ได้มีการวางแผนที่ดีเรื่องวัคซีนที่ผ่านมา

                นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ โดยเฉพาะเรื่องการประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในสถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ตามระดับ แต่ปรากฏว่า หลายกรณีต้องรออยู่หลายวัน หรือต้องรอเป็นข่าวก่อนถึงจะได้รับความช่วยเหลือ บางรายรอจนติดทั้งครอบครัว และบางรายเสียชีวิตระหว่างรอการช่วยเหลือ

           ปัญหาปลีกย่อยเกิดขึ้นถึงระบบการติดต่อสื่อสาร บรรดาสายด่วนต่างๆ ที่รัฐบาลให้ไว้ไม่สามารถติดต่อได้ หรือรอสายนาน จนผู้ป่วยเคว้งคว้าง เกิดสภาวะเกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา ขนาด พล.อ.ประยุทธ์ ที่ทดลองโทรศัพท์ไปยังเจอปัญหาเองกับตัว จนต้องแก้ไขกันทุกวันนี้

         เช่นเดียวกับเรื่องเตียงคนไข้ ที่กลายเป็นปัญหาหนึ่งทำให้การนำตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาช้า หรือกรณีที่ กทม.ต้องรีบหาเตียงไอซียู หลังเหลือไม่มากนัก จึงต้องเร่งทำกันในระหว่างวิกฤติ

         หรือแม้กระทั่งเรื่องของโรงพยาบาลสนามเอง ที่แน่นอนว่า ในทางปฏิบัติมันไม่มีทางที่จะสะดวกสบายเท่ากับโรงพยาบาล หรือฮอตพิเทล หากแต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เมื่อมีการนำภาพโรงพยาบาลสนามของหลายๆ ประเทศที่มีดูเป็นระบบและระเบียบมากกว่าของไทย

          ยังไม่นับรวมเรื่องจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดในครั้งนี้ที่มาจากสถานบันเทิง หรือการแพร่ระบาดที่ จ.สมุทรสาคร อันมีสาเหตุมาจากการลักลอบพาแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศในระลอกที่แล้ว ที่รัฐบาลต้องรับเรื่องการปล่อยปละละเลย หละหลวมไปเต็มๆ

                จากสารพันปัญหาข้างต้น มันเลยกลายเป็นเครื่องหมายคำถามของประชาชนว่า ที่ผ่านมารัฐบาลประมาท หรือชะล่าใจเกินไปหรือไม่ว่าจะไม่มีการระบาดหนักขนาดนี้ ทั้งที่โดยวิสัยจะต้องมีการวางมาตรการไว้สำหรับกรณีเลวร้ายที่สุดไว้ก่อน

         และมันยังทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า ผลงานการสะกดเชื้อมรณะในการระบาดรอบแรกเมื่อต้นปี 2563 จนได้รับการยกย่องเรื่องการป้องกันทางด้านสาธารณสุขเบอร์ต้นๆ ของโลก แท้จริงแล้วที่มันได้ผล เป็นเพราะมาตรการของรัฐ หรือเป็นเพราะความร่วมมือของภาคประชาชนเอง

          ตอนนี้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์อยู่ในสภาพ “เมาหมัด” ยังตั้งหลักได้ไม่แน่น เพราะเชื้อมันกระจายไปทั่วทุกหัวระแหง ไม่มีสัญญาณชะลอตัวเลย สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดตอนนี้คือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และขอความร่วมมือจากประชาชนเท่านั้น

          ถือว่าเป็นสภาวะที่วิกฤติที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้

และสภาวะแบบนี้ มันเลยถูกจับโยงกับกระแสข่าวลือเรื่อง “ยุบสภา” เพื่อไปรีเซตกันใหม่ ที่โผล่ทะลุปล้องขึ้นมากลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

         ข่าวลือดังกล่าวถูกเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน ตั้งแต่การแบ่งจังหวัดให้รัฐมนตรีดูแล ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องปกติทุกครั้งที่มีรัฐมนตรีใหม่เข้ามาจะต้องมีการแบ่งกันใหม่ ทว่า จุดผิดสังเกตคือ รายชื่อของรัฐมนตรีกับพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล เสมือนเป็นการเตรียมการบางอย่าง

           การมอบหมายให้รัฐมนตรีดูแลรับผิดชอบในจังหวัดที่ตัวเองเป็น ส.ส.และมีฐานเสียง ไม่ได้แปลกใหม่ในทางการเมือง หากแต่ครั้งนี้มีบางจังหวัดที่สวนทางออกไป โดยเฉพาะการให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคเหนือให้พรรคพลังประชารัฐ และเป็น ส.ส.พะเยา ไปดูแล 3 จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และภูเก็ต ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ที่มีฐานเสียงอยู่ จ.สงขลา เป็นผู้ดูแล

          การให้ ร.อ.ธรรมนัส ที่ตอนนี้เป็นขุนพลภาคใต้ให้กับพรรคพลังประชารัฐดูแล 3 จังหวัดดังกล่าว ที่มี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐอยู่ และ 2 ใน 3 คือ สงขลา และนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีผู้แทนทั้งจังหวัดรวมกัน 20 คน จึงถูกมองว่าเป็นการเข้าไปทำฐานเสียงเพื่อเตรียมตัวสู่การเลือกตั้ง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ยึดพื้นที่ภาคใต้แทนพรรคประชาธิปัตย์

           เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับพรรคประชาธิปัตย์ สอดรับกับคำพูดของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่า “ทุกคนสามารถเข้าใจได้ไม่ต่างกัน“

                ขณะที่ความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์เองก็น่าสนใจ หลังนายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคออกมาเปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรค ได้ย้ำถึงการดำเนินการตามที่กฎหมายพรรคการเมืองกำหนดถึงกรณีการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง หรือยุบสภาเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมความพร้อมตลอดเวลา

          นอกจากนี้ บรรดาพรรคการเมืองใหม่ต่างๆ ต่างทยอยจดจัดตั้งพรรคกันเป็นจำนวนมาก ประหนึ่งได้กลิ่นว่า พร้อมจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน

มันเลยทำให้การจับตาว่า หากสถานการณ์รัฐบาลไม่ดีขึ้น น่าจะหาจังหวะที่ดีๆ ลงไปรีเซตกันใหม่ โดยเฉพาะหลังร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ผ่านความเห็นชอบของสภาและมีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ กับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำปีในช่วงเดือนกันยายน ที่เป็นการวางขุมกำลังเอาไว้ให้พร้อ

          ที่หากทำเสร็จสิ้น 2 อย่างแล้ว อันเป็นเครื่องมือสำคัญ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น!!!.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

24 มิถุนายน 2565

‘กทม.’แจ้ง7สถานที่ ใช้ชุมนุมสาธารณะเปิดช่องให้ปชช.แสดงออก

อ่านต่อ
23 มิถุนายน 2565

‘กรณ์’ขยี้ต่อ!! ย้ำน้ำมันแพง-ของแพง เป็นอำนาจก.พาณิชย์

อ่านต่อ
23 มิถุนายน 2565

‘นิพนธ์’ฉะ‘อันวาร์’ ไล่ไปที่ชอบๆ

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

‘อันวาร์’โวยลั่นโดนผู้มีอิทธิพลในพรรค ตัดชื่อเป็นผู้สมัครส.ส.ปัตตานี

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

“จุรินทร์”สวน “กรณ์” กล้าในสิ่งที่ควร รู้ไม่จริงอย่าพูด หาเสียงต้องมีความรับผิดชอบ ย้ำค่ากลั่น น้ำมัน มีกฎหมายเฉพาะ มีคณะกรรมการดูแล “พาณิชย์”ดูแลเรื่องปิดป้าย คุมหัวจ่าย จัดการเรื่องโก่งราคา

อ่านต่อ
16 มิถุนายน 2565

ตร.รวบ”นารา เครปกะเทย-หนูรัตน์-มัมดิว” โฆษณาล้อเลียนสถาบันในลาซาด้า

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021