.
กระชากโฉมหน้า ความอุบาทว์ ในวงวิชาการไทย
เพจเฟชบุ๊ก “Suvinai Pornavalai ” โพสต์บทความของ ศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง และรศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในประเด็น”หนึ่งตำลึงค้ำพันชั่ง” โดยมีเนื้อหาระบุว่า
การรวมหัวของ 279 อาจารย์ที่ออกมาเรียกร้องให้ทางมหาวิทยาลัยหยุดสอบสวนการกระทำผิดทางวิชาการของอาจารย์ณัฐพลนั้น
ช่างเป็นความอุบาทว์ทางวิชาการเสียนี่กะไร!
กรรมการสอบสวนก็เหมือนศาล ถ้าเอาแต่พวกมากลากไปไม่เอาความถูกต้องอย่างนี้ประเทศชาติและสังคมจะอยู่กันอย่างไร?
ส่องกระจกดูพฤติกรรมเยี่ยงนี้แล้วยังมีหน้าเป็นครูบาอาจารย์ไปได้อีกหรือ?
ไม่แปลกดอกที่วงการวิชาการในปัจจุบันได้เสื่อมทรามถึงขีดสุดแล้วก็ว่าได้ เหตุก็เพราะไม่สามารถชี้ถูกผิดให้กับสังคมได้ แถมยังทำตัวเองให้เป็นปัญหาแทนที่จะเป็นทางออก
ความไม่ถูกต้องของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของณัฐพลนั้นน่าจะมีอยู่ที่วิธีวิทยาที่ใช้ คือ การตีความทางประวัติศาสตร์ โดยคำนึงถึงบริบทต่างๆที่แวดล้อมอยู่
ฟังดูแล้วดีแต่ไม่ได้เรื่อง นี่คือเหลาไม้ไฝ่กลายเป็นบ้องกัญชาเสียฉิบ แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายเป็นโทษ
เอาให้เข้าใจโดยง่าย การตีความของณัฐพล(จาก ตอบไชยันต์ ไชยพร เรื่องวิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์) หมายถึงการเอาทัศนคติส่วนตนเข้าไปใช้กับ “หลักฐาน” ที่มีอยู่นั่นเอง
แต่ประเด็นที่ ศ.ดร.ไชยันต์ ได้ท้วงติงที่เป็นสาระสำคัญก็คือ
มีอะไรเป็น “หลักฐาน” ให้ตีความว่า บทบาทของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาถนเรนทร ใช้อำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการฯเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง (เพื่อจะเป็นต้นเรื่องกระทบคราดไปถึงสถาบันที่อาจใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการฯ)
ในเมื่อสิ่งที่อ้างอิงว่าเป็น “หลักฐาน” นั้นไม่มีอยู่จริง
หากเป็นเช่นนี้จริงผลลัพธ์ที่ได้ก็คือการ “กุ” เรื่องขึ้นมา ไม่ต่างจากที่ ทอน บูด มายด์ และอีกหลายคนได้กระทำในปัจจุบัน
ถ้าจะใช้วิธีวิทยาของณัฐพล วิทยานิพนธ์ก็ทำโดยบรรดาผู้ที่ไม่นิยมกษัตริย์ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการสอบ หนังสือที่(เลือก)เอามาอ้างอิง เพื่อหวังให้สำนักพิมพ์ที่(จะเลือก)เอาไปตีพิมพ์
ดังนั้นจึงสามารถตีความโดยวิธีวิทยาของณัฐพลเองได้ไหมว่า ณัฐพลมีส่วนอย่างแข็งขันที่จะ “กุ” เรื่องเท็จให้กลายเป็นเรื่องจริง เพื่อหวังเป็นต้นทางให้พวกที่ไม่นิยมกษัตริย์เอาไปขยายความโจมตีต่อไปเป็นทอดๆ
เพราะแม้ในวิทยานิพนธ์จะแก้ไขไม่ได้แล้วแต่ในหนังสือที่นำเอาเนื้อหาวิทยานิพนธ์นี้มาใช้ตีพิมพ์เผยแพร่ก็ยังไม่ยอมตัดข้อความที่เป็น “เท็จ” เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิง
ศ.ดร.ไชยันต์ ได้เขียนเอาไว้ในเฟสบุ๊คตนเองว่า ในหน้า 60 ของหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ณัฐพลและฟ้าเดียวกันได้ตัดข้อความที่กล่าวว่า
“กรมพระยาชัยนาทเรนทรทรงเป็นเพียงหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 แต่ทรงลงนามพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหารแต่เพียงผู้เดียวอย่างรวดเร็ว” ที่เคยปรากฏอยู่ในวิทยานิพนธ์ออกไป
แต่ยังคงข้อความว่า “รัฐประหารครั้งนี้ไม่อาจสำเร็จได้หากปราศจากบทบาทของกรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งมีบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งขัน”
และยังคงอ้างข้อมูลหน้า 210 ของหนังสือ Brief Authority: Excursion of a Common Man in an Common World ของ Stanton อยู่ ซึ่งอย่างที่ชี้ให้เห็นไปแล้วว่า ในหน้า 210 ของหนังสือดังกล่าว ไม่มีข้อความใดเลยที่จะสื่อว่า กรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯ มีบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งขัน
ทำไมตัดข้อความที่ไม่มีหลักฐานอยู่จริงอันหนึ่งออกได้ แต่ไม่ยอมตัดอีกอันหนึ่งทั้งที่ปราศจากหลักฐานอ้างอิงเช่นกันและเอามาตีความ อย่างนี้ไม่เรียกว่าจงใจ “กุ” เรื่องแล้วจะให้เรียกว่าอะไร ณัฐพล?
******
นึกไม่ถึงว่าวงการวิชาการจะมีเผด็จการทางความคิดดังเช่น 279 อาจารย์ที่ออกมาเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยหยุดสอบสวนการกระทำผิด
นี่คือโฉมหน้ามาเฟียในวงการวิชาการไทยที่กล้าบิดเบือนผิดให้เป็นถูก ในนามของเสรีภาพทางวิชาการ
ความถูกต้องจึงไม่ขึ้นอยู่กับจำนวน เป็นอนาลิโก
อาจารย์ไชยันต์ครับ
อย่างน้อยยังมีอีกอาจารย์อย่างพวกผม 2 คนที่เห็นด้วยกับการกระทำเพื่อสังคมวิชาการที่ดีในครั้งนี้
หนึ่งตำลึงจึงค้ำยันพันชั่งได้!
.
หนึ่งตำลึงค้ำพันชั่ง
โดย
ศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง และรศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย
//////
การรวมหัวของ 279…โพสต์โดย Suvinai Pornavalai เมื่อ วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2021
.