(4 พ.ย. 64) นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยได้อภิปรายในเรื่องกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในหน้า 39 ของรายงาน ยังมีบางเรื่องที่ขาดหายไป ก็คือเรื่องคุณภาพของกระบวนการยุติธรรม
ซึ่งจากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 64 ที่ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ถูกหน่วยงานของรัฐจับกุมดำเนินคดีอาญากว่า 352 ราย จากการที่อุทยานแห่งชาติทับลานกำหนดแนวเขตที่ดินทับซ้อนที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของราษฎร ขณะที่ประชาชนมีความเข้าใจและมีหลักฐานว่าอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. แต่ถูกอุทยานดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุก
“สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นกังวลและสงสารชาวบ้านมาก ก็คือ พวกเขาไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ ไม่มีทนาย ไม่มีเงินประกันศาล ทันทีที่ถูกกล่าวหา และได้ดูในสำนวนว่าการถูกกล่าวหานั้นมีหลักฐานอะไรบ้าง มีการพิสูจน์เจตนาหรือไม่ ผลปรากฏว่าไม่มี มีเพียงคำกล่าวหาของเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อไปถึงศาล ทุกคนได้รับคำแนะนำ เกลี้ยกล่อมให้ชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดียอมรับสารภาพ จะได้ลดโทษรอลงอาญา ปรับไร่ละ 60,000 – 70,000 บาท บางรายที่ยอมรับสารภาพก็เข้าใจว่าเรื่องทั้งหมดจบแล้ว แต่หลังจากนั้นก็ยังได้รับหมายศาล ที่ระบุว่าพนักงานอัยการอุทธรณ์ ไม่เห็นด้วยกับการรอลงอาญาจะให้ติดคุกให้ได้ทั้ง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก.” ” นายเกียรติกล่าว
“สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นกังวลและสงสารชาวบ้านมาก ก็คือ พวกเขาไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ ไม่มีทนาย ไม่มีเงินประกันศาล ทันทีที่ถูกกล่าวหา และได้ดูในสำนวนว่าการถูกกล่าวหานั้นมีหลักฐานอะไรบ้าง มีการพิสูจน์เจตนาหรือไม่ ผลปรากฏว่าไม่มี มีเพียงคำกล่าวหาของเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อไปถึงศาล ทุกคนได้รับคำแนะนำ เกลี้ยกล่อมให้ชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดียอมรับสารภาพ จะได้ลดโทษรอลงอาญา ปรับไร่ละ 60,000 – 70,000 บาท บางรายที่ยอมรับสารภาพก็เข้าใจว่าเรื่องทั้งหมดจบแล้ว แต่หลังจากนั้นก็ยังได้รับหมายศาล ที่ระบุว่าพนักงานอัยการอุทธรณ์ ไม่เห็นด้วยกับการรอลงอาญาจะให้ติดคุกให้ได้ทั้ง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก.” ” นายเกียรติกล่าว
ขณะที่รัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ และก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไปสำรวจพื้นที่ พร้อมกับมีข้อแนะนำให้ประกาศแนวเขตของปี 43 ที่ได้มีการสำรวจร่วมไปแล้ว
นายเกียรติ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีคดีเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันเกือบ 20,000 คดี สร้างความทุกข์ให้กับชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดคำถามถึงกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะในประเด็นคุณภาพของกระบวนการยุติธรรม
เมื่อมีการถูกกล่าวหาในคดีอาญาก็จะมีการพิสูจน์เจตนา ขณะที่กรณีชาวบ้านที่วังน้ำเขียวกลับไม่มีการพูดถึงเรื่องการพิสูจน์เจตนาเลยแม้แต่นิดเดียว แต่กลับมีกระบวนการพยายามชักชวนให้รับสารภาพ ทั้ง ๆ ที่หมุด ส.ป.ก. อยู่ในที่ดินบริเวณนั้น ดังนั้นหากกระบวนการยุติธรรมเป็นธรรมจริง กรณีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง ระหว่างส.ป.ก.กับอุทยาน และกำลังแก้ปัญหานี้อยู่ ก็ไม่ควรดำเนินคดีกับชาวบ้าน ไม่ควรใช้คดีอาญาเป็นเครื่องมือกดดันให้ชาวบ้านรับสารภาพ ในเมื่อหน่วยงานรัฐเองก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้เลยว่าใครเป็นเจ้าของที่กันแน่
นายเกียรติ จึงเสนอทางออกว่า วิธีที่ดีที่สุด ณ วันนี้ คือทุกคดีที่อยู่ในพื้นที่ ที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าใครคือผู้รับผิดชอบในพื้นที่นั้น ๆ อย่างชัดเจน และเกิดความขัดแย้ง มีข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานรัฐกันเอง ต้องไม่ดำเนินคดีอาญากับประชาชนจนกว่าจะได้ข้อยุติที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ