Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

การเมือง

‘รุ้ง’ ไม่ขอรับคำวินิจฉัยศาลรธน. ลั่นไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครอง

10 พฤศจิกายน 2564

10 พ.ย.2564 – ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การปราศัยของนายอานนท์ นำภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำราษฎร เมื่อวัน 10 ส.ค. 2563 ว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยกระทำกันเป็นเครือข่าย ขบวนการอย่างต่อเนื่อง และศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 คนและกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าว

นางสาวปนัสยา ได้อ่านแถลงการณ์ว่า ข้าพเจ้าขอส่งสารนี้ด้วยใจจริงถึงพี่น้องประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยทุกท่าน เนื่องด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่รุ้ง พี่อานนท์ และพี่ไมค์ได้กล่าวถึงในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ 2563 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า … ข้าพเจ้าขอยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ข้อเรียกร้องของพวกเรา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือมีเจตนาเป็นไปเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เบื้องตัน ข้าพเจ้าเคารพในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ด้วยจิตวิญญาณอันชื่อตรงต่อหลักนิติธรรม ข้าพเจ้าเห็นว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่อาจยอมรับได้ เพราะขาดซึ่งความชอบอย่างยิ่งด้วยกระบวนพิจารณาคดี

ด้วยเหตุว่า กฎหมายได้ระบุให้การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ให้ใช้ระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจแสวงหาพยานหลักฐาน เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้เสนอพยานหลักฐาน เพื่อต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ตามหลักนิติธรรม และเป็นสิทธิของคู่ความที่ พึงมีในกระบวนยุติธรรม และแม้ศาลจะสามารถใช้ดุลพินิจเพื่อแสงหาข้อเท็จจริง แต่การใช้ดุลพินิจนั้น ต้องเป็นไปเพื่อรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม แต่ทั้งนี้ในทางความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลกลับไม่เปิดโอกาสให้มีการไต่สวน ไม่ยอมให้นักวิชาการเข้าให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ อันเป็นการกระทบต่อสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม โดยศาลได้ให้เหตุผลว่า คดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวน แม้จำเลยจะได้มีการยื่นร้องขอต่อศาลให้มีการไต่สวนแล้วก็ตาม

ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งว่า ข้าพเจ้าไม่อาจเห็นด้วยกับคำตัดสินดังกล่าว และขอเน้นย้ำอย่างบริสุทธิ์ใจว่า ข้อเรียกร้องต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นการกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญให้สูญสิ้นสลายหมดไป ดังที่นาย ณฐพร โตประยูร กล่าวอ้าง และในทางกลับกันข้าพเจ้ากลับเห็นว่า การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ย่อมจะส่งผลเป็นการธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง และเป็นเหตุให้สถาบันพระมหากษัตริย์เจริญวิวัฒน์พัฒนาสถาพรขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

และด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงยังขอยืนยันในข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ที่ว่า

ข้อ 1.ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ
ข้อ 2.ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ข้อ 3.ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561
ข้อ 4.ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์
ข้อ 5.ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์
ข้อ 6.ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด
ข้อ 7.ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
ข้อ 8.ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียว
ข้อ 9.สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎร
ข้อ 10.ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก

ข้อเสนอต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่ 10 ข้อนี้ ล้วนแต่เป็นการเสนอด้วยเจตนาสุจริต ด้วยความปรารถาดีที่ต้องการจะให้สถาบันกษัตริย์ของไทย มีความชอบธรรมและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างสง่างาม ตามครรลองระบอบประชาธิปไตยอย่างสากล

ทั้งนี้ ในส่วนของ การยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า การผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาญามาตรา 112 มิได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการล้มล้างการปกครองในระบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

แต่ย่อมเป็นไปเพื่อให้การส่งเสียงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นกัลยาณมิตรสามารถเป็นไปได้ ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 1 12 เป็นกระบวนการที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุว่าประชาชนผู้เป็นแหล่งที่มาของอำนาจอธิปไตย ย่อมเป็นผู้ทรงอำนาจในการสถาปนาและแก้ไขกฎหมายทั้งปวงเพราะเมื่อได้ชื่อว่ากฎหมายแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในลำดับศักดิ์ใด กฎหมายย่อมสามารถถูกแก้ไขได้ตามเจตจำนงของประชาชนผ่านกระบวนการตามกฎหมาย ภายใต้ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังที่มีการบัญญัติรับรองไว้ ตามมาตรา 133 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการวินิจฉัยคดีนี้เกิดขึ้นแล้ว และผลได้ปรากฏออกมาดังที่ทุกท่านทราบข้าพเจ้าขอให้การตัดสินวินิจฉัยในครั้งนี้ จงถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ว่าศาลรัฐธรรมนูญซึ่งควรมีหน้าที่สำคัญในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ รักษาดุลยภาพแห่งอำนาจ และปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้วินิจฉัยว่า การเรียกร้องให้เกิดการการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์หมายถึงการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขอให้คำตัดสินดังกล่าว

อันพวกท่านทั้งหลายมีส่วนร่วมหรือสนับสนุน จงเป็นกระจกสะท้อนต่อเบื้องลึกในจิตใจของท่านทั้งหลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความกลัวต่อสภาพอันเปราะบางที่ดำรงอยู่ ซึ่งพวกท่านต่างรู้ได้ด้วยมโนสำนึก และผ่านการกระทำของท่าน และขอให้ท่านทราบว่า พวกท่านกำลังมีส่วนในการขัดขวางการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้สถาบันสามารถดำรงอยู่อย่างสง่างาม ภายใต้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง

ท้ายที่สุดนี้ ข้าพเจ้าขอยืนยันด้วยใจอันเห็นประโยชน์แห่งมหาชนเป็นที่ตั้งว่า หนทางที่ดีที่สุดในการธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่การใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการกดปราบ คุกคาม หรือการพยายามสร้างสังคมแห่งความหวาดกลัว แต่คือการพยายามร่วมมือกันจาก ทุกภาค ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ทุกความคิดทางการเมือง ทั้งฝ่ายประชาธิปไตย และฝ่ายอนุรักษ์นิยม และจากทุกองคาพยพของรัฐ ทั้งองค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร องค์การตุลาการ องค์กรอิสระ รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อร่วมกันผลักดันให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์สามารถดำเนินไปจนประสบผลสำเร็จสถาพรได้จริง อันจะเป็นการธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและเป็นเหตุแห่งความเจริญพิพัฒน์วัฒนาของสถาบันกษัตริย์ควบคู่กับสถาบันประชาชน ตามการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริงต่อไป.

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

24 มิถุนายน 2565

‘กทม.’แจ้ง7สถานที่ ใช้ชุมนุมสาธารณะเปิดช่องให้ปชช.แสดงออก

อ่านต่อ
23 มิถุนายน 2565

‘กรณ์’ขยี้ต่อ!! ย้ำน้ำมันแพง-ของแพง เป็นอำนาจก.พาณิชย์

อ่านต่อ
23 มิถุนายน 2565

‘นิพนธ์’ฉะ‘อันวาร์’ ไล่ไปที่ชอบๆ

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

‘อันวาร์’โวยลั่นโดนผู้มีอิทธิพลในพรรค ตัดชื่อเป็นผู้สมัครส.ส.ปัตตานี

อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565

“จุรินทร์”สวน “กรณ์” กล้าในสิ่งที่ควร รู้ไม่จริงอย่าพูด หาเสียงต้องมีความรับผิดชอบ ย้ำค่ากลั่น น้ำมัน มีกฎหมายเฉพาะ มีคณะกรรมการดูแล “พาณิชย์”ดูแลเรื่องปิดป้าย คุมหัวจ่าย จัดการเรื่องโก่งราคา

อ่านต่อ
16 มิถุนายน 2565

ตร.รวบ”นารา เครปกะเทย-หนูรัตน์-มัมดิว” โฆษณาล้อเลียนสถาบันในลาซาด้า

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021