Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

การเมือง

‘กลุ่มปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ’ บุกสภาร้อง ‘ชวน’ สอบจริยธรรม ‘จิราพร’ บิดเบือนข้อมูลซักฟอกปมเหมืองทอง ยันใช้ ‘ม.44’ ปิดเหมือง ไทยยังไม่ได้รับความเสียหาย

22 กรกฎาคม 2565

22 กรกฎาคม 2565 ที่รัฐสภา กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ นำโดย นางวันเพ็ญ พรมรังสรรค์ รองประธานกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ ยื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องขอให้สอบสวนจริยธรรม น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย (พท.) จากพฤติการณ์อภิปรายกรณีเรื่องเหมืองแร่ทองคำโดยไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในสภา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผ่านนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร

นางวันเพ็ญ กล่าวว่า กลุ่มของตนเป็นกลุ่มประชาชนผู้ร้องในคดีเหมืองทองคำต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ดำเนินการสอบสวนกรณีบริษัทประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำโดยมิชอบด้วยกฎหมายในหลายกรณี คดีดังกล่าวนี้บางส่วนมีการชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการสั่งฟ้องไปยังศาลแล้ว บางคดีก็อยู่ระหว่างการสั่งฟ้องไปยังอัยการ และบางส่วนอยู่ระหว่างการสอบสวน ซึ่งรวมทุกประเด็นแล้วมีมากกว่า 40 ประเด็น

นางวันเพ็ญ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยยุติการทำเหมืองแร่ทองคำของ บริษัทอัครารีซอสเซส จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 โดยการใช้มาตรา 44 ตามคำสั่งที่ 72/2559 ประกอบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นอำนาจโดยชอบของรัฐบาลไทยซึ่งให้สัมปทาน เมื่อรัฐบาลเห็นว่าประชาชนร้องเรียนเรื่องผลกระทบ จึงใช้อำนาจโดยการระงับไม่ต่อใบอนุญาตเหมืองแร่ทองคำและโรงงานโลหะกรรมที่สิ้นอายุลงตามปรกติ เอาไว้เพื่อตรวจสอบ จนนำไปสู่การตรวจสอบตามข้อร้องเรียนพบว่าบริษัททำผิดกฎหมายหลายกรณี

ทั้งนี้ กรณีที่ว่านี้แม้ว่าประเทศไทยจะถูกดึงเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ แต่การต่อสู้ในชั้นนี้ ประเทศไทยมีจุดแข็งในการต่อสู้ เนื่องจากขณะที่ใช้มาตรา 44 ประเทศไทยยังมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แร่ พ.ศ.2510 ซึ่งมีมาตรา 9 ตรี กับ 9 ทวิ คุ้มครองไว้ จึงทำให้ประเทศไทยนั้นไม่เสียเปรียบทางด้านกฎหมาย เพราะว่ากฎหมายได้คุ้มครองไว้ว่าไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทเอกชน

“การที่ น.ส.จิราพร ได้หยิบเอาประเด็นเหมืองแร่ทองคำมาอภิปรายในสภาอยู่หลายครั้งรวมทั้งในวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีประเด็นที่บิดเบือนข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่า ประเทศไทยได้รับความเสียหายจากการใช้มาตรา 44 ทั้งที่ประเทศไทยยังไม่ได้รับความเสียหายเพราะกระบวนการอนุญาโตตุลาการยังไม่ได้มีข้อชี้ขาดและกรณีข้ออภิปรายโจมตีเพียงการใช้มาตรา 44 โดยไม่ได้หยิบยกเอาประเด็นที่ประเทศไทยนั้นใช้มติที่ชอบธรรมของ ครม. ที่กล่าวมา” นางวันเพ็ญ กล่าว

นางวันเพ็ญ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่อ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ วิ่งล้มเหมืองทองคำที่อยู่ในดีเอสไอ ป.ป.ช. และ ปปง. ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและเกี่ยวข้องกับคดีสำคัญ กลุ่มประชาสังคมที่เป็นผู้ร้องต่อคดีดังกล่าวทั้งหมดจึงเห็นว่าข้ออภิปรายนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับรูปคดี ประกอบกับการนำเอกสารลับของอัยการสูงสุดมาอ้างตอนอภิปราย โดยมีข้อความเห็นของอัยการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อรูปคดี กรณีที่ว่านี้จึงเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศเนื่องจากคดีเหมืองทองคำเป็นคดีประวัติศาสตร์ของชาติและเนื่องจากประเทศไทยนั้นต้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทเหมืองทองคำในกรณีขุดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 13 01 และทางสาธารณประโยชน์ มูลค่าเสียหายต่อประเทศถึง 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งตอนนี้อยู่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้ทางกรมได้สรุปสำนวนส่งให้อัยการไปแล้วและบริษัทอัคราฯ ได้รับทราบข้อกล่าวหานี้แล้ว รวมถึงคดีนอมินีต่างชาติ สืบเนื่องจากบริษัทอัคราฯ ใช้คนไทยเป็นนอมินีในการประกอบธุรกิจทำเหมืองแร่ทองคำ

“ขอให้นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ดำเนินการส่งเรื่องไปให้กรรมการตรวจสอบประมวลจริยธรรมว่าการดำเนินการอภิปรายดังกล่าวของท่าน ส.ส. เมื่อวานนี้ และย้อนหลังไปอีกหลายครั้งที่ผ่านมานั้น ขัดต่อประมวลจริยธรรมพ.ศ.2563 ซึ่งหากพบว่าเป็นการกระทำความผิดก็ขอให้ ป.ป.ช. และขอให้ ป.ป.ช.ดำเนินการส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป” นางวันเพ็ญ กล่าว

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

10 สิงหาคม 2565

ขายขี้หน้า!!! สุมหัวล้มประชุมรัฐสภา ทำแท้งกม.ลูกคืนชีพสูตรหาร 100 ตามคาด

อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2565

‘จุรินทร์’เดินสายเปิดว่าที่ผู้สมัคร แย้มเลือดใหม่ 30 ราย 13ส.ค.ลุยสตูล

อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2565

“จุติ”บ่นกลางวงครม.ไม่มีใครช่วย“บิ๊กตู่” แจงปม 8 ปี ปล่อยให้อีกฝั่ง 10 กว่าคนขยี้ซ้ำไปซ้ำมา แซะพรรคตั้งใหม่ หาเสียงแจกที่ดิน-บำนาญ ทั้งที่เป็นไปไม่ได้

อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2565

‘จุรินทร์’ กรีด ‘อันวาร์’ ไม่ใช่เลือดไหล แค่เอาหนองออก ให้เลือดใหม่ได้มีโอกาสเข้ามา

อ่านต่อ
5 สิงหาคม 2565

“ไพฑูรย์ แก้วทอง” ฉลองวันเกิด 500 โต๊ะ เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พิจิตร ทั้ง 3 เขต

อ่านต่อ
4 สิงหาคม 2565

‘หมอรุ่งเรือง’ ฝาก ‘อ.เจษฎา’ ใช้สติและปัญญา แทนอคติ ต้องพูดบนข้อเท็จจริง ‘วิชาการ’ ไม่ใช้ ‘อารมณ์’

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021