Skip to content
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแรก
  • รายการสถานี
    • อรุณสวัสดิ์ ฟ้าวันใหม่
    • เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง
    • ฟ้าวันใหม่นิวส์
    • สนามข่าวโซเชียลฯ
    • ข่าวฟ้ายามเย็น
    • บ้านเมืองของเรา
    • ฟ้าทะลายโจร
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ-สังคม
  • บทความ
    • บทความพิเศษ
    • ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ไลฟ์สไตล์
  • ซื้อสินค้า
  • ผังรายการ
  • ติดต่อโฆษณา

เล่าข่าวเด่น เล่นข่าวดัง

สธ.เปิดตัวชุดทดสอบกัญชา “เทสต์กัญ” วัดระดับ THC

23 มิถุนายน 2565

เล่าข่าวเด่น-เล่นข่าวดัง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565
เวลา 13.20-14.20 น. ดำเนินรายการโดย ภาคภูมิ เตมะศิริ

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ และคณะผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์ฯ แถลงผลการพัฒนาชุดตรวจกัญชา “Test Kann (เทสต์ กัญ)” ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

นพ.ศุภกิจแถลงว่า นโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ แม้จะปลดล็อกทุกส่วนของกัญชากัญชงออกจากยาเสพติดแล้ว แต่ยังยกเว้นสารสกัดที่มีสารทีเอชซี (THC) เกินร้อยละ 0.2 การจะรู้ว่าปริมาณเกินหรือไม่ กรมวิทยาศาสตร์ฯจึงพัฒนาการตรวจพิสูจน์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การตรวจหาปริมาณสารสำคัญกัญชาในสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจได้ทั้งทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) เช่น อาหาร คุกกี้ ช็อกโกแลต ว่ามีกัญชาใส่ไปมีมากน้อยแค่ไหน สามารถบอกได้เลยว่ามีกี่มิลลิกรัม แต่ราคาค่อนข้างแพง ค่าตรวจ 5,000 บาท และการตรวจด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย มี 2 ชุด คือ

1.ชุดทดสอบ THC Test Kit ซึ่งพัฒนามาจากชุดทดสอบเดิมที่เชียงใหม่ในการตรวจ THC ในกัญชง โดยนำมาพัฒนาเป็นชุดทดสอบที่ตรวจวัดพืชกัญชาและสารสกัดกัญชา ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะกับคนทั่วไป เพราะขั้นตอนในการตรวจต้องมีความแม่นยำ เพื่อไม่ให้ค่าที่ตรวจคลาดเคลื่อน ผู้ตรวจต้องผ่านการอบรม และมีราคาแพง โดยชุดตรวจ 1 กระเป๋า มีราคา 4,000 บาท แต่จะได้อุปกรณ์ทั้งหมด เช่น อุปกรณ์ให้ความร้อน ชั่งน้ำหนัก น้ำยาต่างๆ สามารถตรวจได้ 20 เทสต์ เฉลี่ย 200 บาท ต่อเทสต์ แต่เมื่อใช้ตรวจหมดแล้วสามารถซื้อเป็นรีฟิลมาเติมได้ราคา 1 พันบาทต่อ 20 เทสต์ ราคาจะถูกลงมาเหลือ 50 บาทต่อเทสต์ ชุดทดสอบนี้ไม่เหมาะกับการนำมาตรวตัวอย่างเดียว เพราะไม่คุ้มค่า อาจต้องเป็นการรวมตัวกันมากๆ เพื่อตรวจเป็นแบบโรงงานหรือมีการตรวจบ่อยๆ

“ผู้ที่ตรวจต้องผ่านการอบรม ซึ่งผลการตรวจจะออกมาลักษณะขึ้นแถบสีชมพูแดงให้อ่านค่า THC ซึ่งจะมีสีของระดับร้อยละ 0.2 โดยหาก THC น้อยกว่าร้อยละ 0.2 จะเป็นสีที่จางลง และหาก THC มากสีจะเข้ม โดยมีแอพพลิเคชั่นที่สามารถดาวน์โหลดมาอ่านค่าสีได้ว่า สีที่ออกมาคือปริมาณ THC เท่าไร จะดีกว่าการใช้ตาดู ซึ่งการตรวจจะช่วยให้คนทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ รู้ว่ามีปริมาณ THC มากน้อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้เกินกำหนด” นพ.ศุภกิจกล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯกล่าวว่า 2.ชุดทดสอบกัญชา Test Kann (เทสต์ กัญ) ใช้ตรวจวัด THC ในสารสกัดและน้ำมันกัญชา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าแบบแรก มีลักษณะตลับเหมือนการตรวจ ATK โควิด-19 สามารถรู้ผลได้ใน 15 นาที

“โดยผลการตรวจ หากไม่ขึ้นขีดมาเลย จะถือว่าชุดทดสอบมีปัญหา ใช้ไม่ได้ ต้องโยนทิ้ง หากขึ้นขีดเดียวที่ตำแหน่ง C ถือว่ามี THC มากกว่าร้อยละ 0.2 และกรณีขึ้น 2 ขีด ที่ตำแหน่ง C และ T ถือว่ามี THC น้อยกว่า ร้อยละ 0.2 โดยการตรวจใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟี เป็นการจับกันระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนแบบแข่งขัน ดังนั้น หากมี THC มาก ก็จะแย่งจับจนขึ้นเพียงขีดเดียว แต่หาก THC น้อยหรือไม่มีก็จะไม่ไปแย่งจับ ทำให้มาขึ้นอีกขีดที่ตำแหน่ง T จะเห็นว่าการให้ผลจะแตกต่างจาก ATK โควิด-19 ทุกขั้นตอนการตรวจต้องละเอียด ตรวจแบบลวกๆ ไม่ได้ เพราะค่าอาจคลาดเคลื่อน โดยให้เอาสารสกัดกัญชาใส่จนเต็มช้อน หากเกินหรือขาด นำไปเทใส่หลอดสารสกัด 1 เขย่าให้เข้ากัน ใช้หลอดหยดดูดสารสกัด 1 ขึ้นมาจนถึงขีดที่กำหนดและปล่อยลงในสารสกัด 2 และผสมให้เข้ากัน จากนั้นดูดสารสกัด 2 จนถึงขัดที่กำหนด และหยดลงในตลับ แม้เราจะทำให้ตรวจได้ง่าย แต่การตรวจต้องพิถีพิถัน ราคาต้นทุนทั้งหมดที่ทำไม่น่าเกินเทสต์ละ 100 บาท อยู่ในวิสัยที่ซื้อหาไปทำได้ แต่กรมวิทย์ไม่มีหน้าที่ทำขาย เราจะผลิตออกมาจำนวนหนึ่ง 1.5 หมื่นเทสต์ เพื่อแจกฟรี แต่จะแจกให้กลุ่มไหน สถานที่ไหน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จะขอหารือก่อน และจะประกาศถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทที่อยากนำไปผลิตขาย” นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ชุดทดสอบเหล่านี้ ถือว่าตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง แต่ย้ำว่าเป็นชุดตรวจเบื้องต้น จะนำผลไปฟ้องร้องดำเนินคดีเลยไม่ได้ เหมือนการตรวจยาบ้า แม้ผลตรวจออกมาจะเป็นฉี่ม่วงก็เอาผิดไม่ได้จนกว่าจะไปตรวจเลือด ซึ่งที่มุ่งหวังคือ คนที่ทำผลิตภัณฑ์ หรือน้ำมันกัญชาจะได้นำชุดทดสอบมาตรวจของตัวเองก่อนเบื้องต้น ถ้าเกินก็จะได้ปรับปรุงให้ลงมาไม่เกินจะได้ไม่ผิดกฎหมาย เป็นการช่วยคุ้มครองผู้บริโภค

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า การตรวจอีกส่วนคือ การตรวจในคน เพื่อพิสูจน์ว่ากินหรือเสพกัญชาแล้วเกิดอาการหลากหลาย ทั้งประสาทหลอน ใจสั่น หัวใจหยุดเต้น เกิดจากกัญชามากไปหรือไม่ การตรวจมีทั้งตรวจจากปัสสาวะ แต่มีข้อเสียคือ มีการตกค้างอยู่ในปัสสาวะได้นาน แม้จะหยุดกินหรือเสพไปแล้ว จึงไม่ตอบโจทย์ อีกวิธีคือการเจาะเลือด นำมาปั่นเอาพลาสมาไปตรวจ ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่ง สามารถตรวจได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตาม การตรวจเลือดนั้น ยังไม่มีใครบอกได้ว่า ความเข้มข้นของกัญชาในเลือดเท่าไรถึงบอกว่ามีปัญหา เพราะแต่ละคนมีการตอบสนองต่อกัญชาไม่เหมือนกัน เช่น บางคนกินคุกกี้ผสมกัญชาเล็กน้อยก็เวียนหัว ใจสั่น บางคนกินเป็นกล่องยังสบายดี

“การตรวจพลาสมาของผู้ป่วยว่าได้รับสารกัญชามากน้อยแค่ไหน จึงวางแผนทำเป็นการวิจัยด้วย โดยจะร่วมมือกับโรงพยาบาล (รพ.) ขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ที่มีคนไข้ที่มีผลกระทบจากกัญชามารักษา ก็จะส่งพลาสมา 1.5-2 ซีซี ไปตรวจ ซึ่งเป็นการตรวจด้วยเครื่อง มีความแม่นยำสูงว่ามี THC หรือสารซีบีดี (CBD) กี่มิลลิกรัม ค่าตรวจคิดต้นทุนแล้ว 1,400 บาทต่อเทสต์ ต้องหารือว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะจ่ายหรือไม่ แต่หากเป็นโครงการวิจัยก็จะตรวจให้ฟรี” นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า การตรวจจะบันทึกว่า ที่มีอาการหลอน หัวใจเต้นผิดปกติแบบนี้ มีกัญชาในเลือดเท่าไร จะช่วยให้มีข้อมูลสำหรับคนไทยว่า ปริมาณกัญชาเท่าไรถึงควรระวัง ช่วยให้แพทย์รักษาคนไข้ได้มากขึ้น ช่วยให้เรียนรู้ว่าจะเกิดอันตรายต่อใครอย่างไร และตรวจเพื่อยืนยันทางการแพทย์ให้สิ้นสงสัยว่าอาการเกี่ยวกับกัญชาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หาก รพ.ใดมีเครื่องตรวจก็จะช่วยพัฒนาให้ตรวจได้เอง โดยไม่ต้องส่งกรมวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งนี้ จะหารืออายุรแพทย์หรือจิตแพทย์ถึงข้อกำหนดผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในการส่งตรวจ ซึ่งช่วงแรกอาจจะต้องกำหนดไว้กว้างก่อน แต่เมื่อดำเนินการไปแล้วจะเห็นว่ากลุ่มไหนที่ควรส่งตรวจก็จะกำหนดให้แคบลงได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีชุดตรวจจากอาหารโดยตรงหรือไม่ นพ.ศุภกิจกล่าวว่า การตรวจในอาหารไม่ง่ายในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะมีองค์ประกอบต่างๆ ในอาหารมาก ซึ่งมีผลต่อวิธีตรวจ แต่หากต้องการตรวจอาหารก็สามารถส่งมาตรวจที่ห้องแล็บได้ แต่มีราคาสูง 5,000 บาท เพราะต้องมีขั้นตอนต่างๆ เช่น การกำจัดไขมันในอาหารออกไป ซึ่งวิธีการเหล่านี้ชาวบ้านไม่สามารถตรวจเองได้ ส่วนการจะพัฒนาชุดทดสอบที่เอาไปจุ่มในน้ำแกงหรืออาหารแล้วรู้ว่ามี THC เท่าไร ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่โดยหลักการเรียนว่ายังไม่มีบริษัทไหนในโลกทำออกมาได้ ถือว่าเป็นโจทย์ที่ต้องช่วยกันคิดและพัฒนาในอนาคต

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนการตรวจในแล็บเอกชนอื่นๆ นั้น เนื่องจากสารสกัดมาตรฐาน THC ยังเป็นยาเสพติด การครอบครองของห้องแล็บยังทำไม่ได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำลังปรับกฎหมายเพื่อให้แล็บเอกชนครอบครองสารมาตรฐาน THC ในการทำแล็บได้ ซึ่งขณะนี้ทำได้แค่ CBD ที่ไม่เป็นสารเสพติด ส่วนการทำมาตรฐานการตรวจนั้น เมื่อกรมวิทยาศาสตร์ฯพัฒนาวิธีการตรวจในอาหาร ยา เครื่องสำอาง ก็จะยื่นขอ ISO และมาตรฐาน และจะเปิดให้แล็บเอกชนเข้ามาทำการเทียบมาตรฐาน เป็นการพัฒนาไปด้วยกัน ซึ่งหลายแล็บก็เริ่มสนใจติดต่อเข้ามา

แชร์กับเพื่อน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1 กรกฎาคม 2565

แนะ “ประยุทธ์” ขึ้นหัวหน้า พปชร. “อ.จักษ์” อัดยับตามเพื่อไทยไม่ทัน

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

“ชัชชาติ” แต่งลูกเสือ “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” “อ.จักษ์” สวนย้อนแย้ง

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

ปิยบุตรอัด “ชัชชาติ” เสรีนิยมใหม่ ยก “บริการสาธารณะ” ฝรั่งเศสข่ม

อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565

เมียนมาร์ขอโทษเครื่องบินล้ำน่านฟ้า – นายกฯ ชี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่

อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2565

‘ดร.สมคิด’ แคนดิเดตนายกฯสร้างอนาคตไทย ฟาดประชาธิปไตยแจกกล้วย

อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2565

‘ธรรมนัส’ เขย่าแรง…รมต.โดนสอยนายกฯต้องรับผิดชอบด้วย

อ่านต่อ
Facebook Youtube Line
บริษัทบลูสกายแชนแนล
  • 2170 อาคารกรุงเทพทาวเวอร์ ชั้น 8
    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
    กรุงเทพมหานคร 10310
  • 02-308-0020
line-logo-100
Copyright © 2021